30 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความมจพ.จับมือกรมวิทยาศาสตร์บริการ พัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออก

มจพ.จับมือกรมวิทยาศาสตร์บริการ พัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออก

หมวดหมู่: การศึกษา

วันนี้ 20 กันยายน 2561 พิธีปิดโครงการ “ พัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออกของผู้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคกลาง” ณ  โรงแรมรามาดา พลาซ่า แม่น้ำ ริเวอร์ไซด์ ที่เป็นความร่วมมือระหว่างกรมวิทยาศาสตร์บริการและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)  ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561 โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 20 ราย

 



โครงการดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จ  เนื่องจากเป็นการบูรณาการระหว่างผลิตภัณฑ์โอ่งมังกรของจังหวัดราชบุรีกับผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทเบญจรงค์ของจังหวัดสมุทรสาคร เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการเซรามิกกลุ่มจังหวัดภาคกลางสามารถออกแบบและพัฒนารูปแบบและลวดลายใหม่ ๆ ให้มีความโดดเด่นและแตกต่างกันเพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออกของประเทศมากยิ่งขึ้น พบว่าผู้ประกอบการมีการพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิก ทำให้เกิดกลุ่มลูกค้ารายใหม่เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบระหว่างก่อนเข้าโครงการฯและหลังเข้าโครงการฯอย่างชัดเจน

 



นางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิการบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ  กล่าวว่า  กรมวิทยาศาสตร์บริการและ มจพ. ร่วมมือกันพัฒนาในเรื่องของรูปแบบของผลิตภัณฑ์เซรามิก ทั้ง SME และวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้มีรูปแบบเป็นที่ต้องการของลูกค้าและจะขยายช่องทางการตลาด  สิ่งสำคัญที่เราอยากได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ  เพื่อการส่งออก  ซึ่งกลุ่มของภาคกลางมาลงที่จังหวัดราชบุรี 8 โรงงานและสมุทรสาคร  12 โรงงาน

จากการที่ได้ติดตามงานพบว่า ในปี 2560-2561 จะมีการทำงานที่ต่อเนื่อง  ผู้ประกอบใดที่สามารถผลักดันไปได้เราก็ได้เชิญเข้ามาร่วมโครงการฯ ในปี 2561 จะเห็นถึงการพัฒนาของผู้ประกอบการ  เนื่องจากเราได้สอนวิธีการให้ผู้ประกอบการมีความยั่งยืน มีแนวคิดในการออกแบบต่อไปด้วย  หากจบโครงการแล้ว เมื่อกรมวิทยาศาสตร์บริการ และ มจพ.ถอยหลังออกมาแล้วผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการกับเรา  ต้องมีแนวคิด มีการพัฒนารูปแบบ ให้มีความสอดคล้องกับลูกค้า ไลฟ์สไตล์ของคนไทย ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบร่วมสมัยก็จะเป็นที่ต้องการของลูกค้า

 



อาจารย์สุรสิทธิ์ แสงสุริยะ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มจพ. กล่าวว่า  ในส่วนของ มจพ. ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสากิจชุมชน เป็นความชำนาญของทางสาขาเซรามิก คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ทางคณะฯ มีความกระตือรือร้นที่จะทำโครงการนี้ โดยเฉพาะอาจารย์ทางสาขานี้ พอได้รับโครงการนี้ มีการวางแผน มีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ สิ่งหนึ่งที่มองว่าเป็นโอกาสคือ  เราสามารถที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในเรื่องครีเอทีฟของเราที่มีอยู่มาช่วยทางผู้ประกอบการที่มีฝีมือทางด้านการผลิตอยู่แล้ว  นำ 2 อย่างมาบูรณาการเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมา  เกิดการออกแบบและผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ  ซึ่งเป็นเป็นสิ่งที่ดีเพราะว่ารูปแบบใหม่ ๆ สามารถตอบสนองกับตลาดได้ ทำให้เกิดการขายได้จริง  พอเราทำเสร็จเราก็จะไปออกงานแสดงสินค้าไม่ว่าจะเป็น งานบ้านและสวน งานบิ๊กที่แสดงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การออกแบบ  งานครีเอทีฟต่าง ๆ ซึ่งได้ รับการตอบรับที่ดีในระดับหนึ่ง  เบื้องต้นถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี ทางผู้ประกอบการมีการพัฒนาต่อ หรือว่าสามารถที่จะปรึกษาเราได้แล้ว  คาดหวังว่าในอนาคตถ้ามีโครงการต่อไป  น่าจะเป็นโอกาสที่ดี สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้มอบหมายโครงการนี้ให้ มจพ.ดำเนินการ

รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มจพ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางด้านการผลิตเช่นวิธีการเขียนลาย เราไม่ห่วง เพราะว่าทางผู้ประกอบการมีความชำนาญอยู่แล้วแต่ด้วยความทีผู้ประกอบการอยู่ในกรอบที่ทำรูปแบบเดิม  เราจึงเข้าไปช่วยสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ ๆ  โดยทาง มจพ.ได้ศึกษาเทรนของเซรามิกมีรูปแบบเป็นอย่างไร ไลฟ์สไตส์ของคนที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์แบบนี้เป็นอย่างไร  ใช้พวกนี้เป็นองค์ประกอบในการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเช่น  กระถังที่เป็นโอ่งมังกรหรือกระถังบัว  เรามีการย่อส่วนและใช้ลวดลายที่มีความละเอียดมากขึ้นหรือประยุกต์เอาไปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นเลย ที่ผู้บริโภคปัจจุบันที่มีไลฟ์สไตส์คนเมืองหรือคนรุ่นใหม่ หยิบจับและสามารถนำเอาไปใช้งานได้จริง

ทั้งนี้  โครงการนี้อาจะจะประสบความสำเร็จไม่ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อย เป็นการกระตุ้นและทำให้ผู้ประกอบการเห็นว่า เขาไม่สามารถที่จะหยุดนิ่งได้  เขาไม่สามารถทำผลงานเดียวได้ ต้องใส่ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามในเรื่องของเทรนในการออกแบบ  ตรงนี้ถ้าผู้ประกอบการสามารถเข้าใจ บวกกับประสบการณ์และฝีมือที่มีจะเป็นการทำธุรกิจที่ดีมาก

 



คุณรัชนี ทองเพ็ญ เจ้าของกิจการ โรงงานแดงเบญจรงค์  บอกว่า  เมื่อเราเข้าโครงการเราจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมา  ทางโรงงานได้ผลิตสินค้าเครื่องหอม  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้ำ  สนนราคาอยู่ที่  350 - 1,000 กว่าบาท  ซึ่งทาง มจพ.มาช่วยในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ  ชิ้นงานที่เราอยากได้ให้มีความทันสมัยมากขึ้น ที่สำคัญขายได้ด้วย  ปกติเรามีเว็บไซต์และมีหน้าร้านของเรา  เมื่อทาง มจพ.มาช่วยดูแลในเรื่องของการออกแบบ ภายใน 2 ปี  ทางโรงงานมีตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา 5 แบบทีเดียว

“โครงการนี้ดี เพราะมีอาจารย์มาช่วยดูในเรื่องของการออกแบบให้เราสามารถต่อยอดไปได้  ซึ่งวันนี้ก็ได้พาลูกมาด้วย เพื่อจะได้มาเห็นผลงานและจะได้เห็นถึงผลิตภัณฑ์งานใหม่  ๆ  ว่าเป็นอย่างไร  เขาจะได้ไปต่อยอดให้กับเด็กรุ่นใหม่ด้วย” คุณรัชนี กล่าว 

 

  


 


 

20 กันยายน 2561

ผู้ชม 539 ครั้ง

Engine by shopup.com