30 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความขับเคลื่อนสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม (ภาคใต้ชายแดน) 

ขับเคลื่อนสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม (ภาคใต้ชายแดน) 

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 


พลเอก สุรเชษฐ์  ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยหลังการเป็นประธานการประชุมโครงการการขับเคลื่อนสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม (ภาคใต้ชายแดน) ณ วิทยาลัยเทคนิคยะลา ว่า การขับเคลื่อนสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม (ภาคใต้ชายแดน) ในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้ง 6  ระหว่างวันที่ 18 - 20 กันยายน 2561 ณ วิทยาลัยเทคนิคยะลา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 จังหวัดยะลา โดยเป็นการจับคู่ระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษาอาชีวศึกษา และการเจรจาซื้อขาย ผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษา ตลอดจนการให้คำแนะนำจากสถานประกอบการ มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษา ให้สามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจเชิงพาณิชย์ ซึ่งนับเป็นหัวใจที่สำคัญของการจัดงาน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีสมรรถนะ เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้านนวัตรกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงานวิจัย ซึ่งสามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ไปใช้ในการประดิษฐ์และต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อีก ทั้งนี้ผลจากความร่วมมือในการพัฒนาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี จะช่วยนำพาประเทศชาติให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี 

 



ด้านดร.สุเทพ  ชิตยวงษ์  เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า การจัดนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษา (ภาคใต้ชายแดน) รวมจำนวนทั้งสิ้น 67 ผลงาน มีสถานประกอบการเข้าร่วม 30 แห่ง สถานศึกษาอาชีวศึกษาเข้าร่วม 15 แห่ง การจับคู่ธุรกิจ จำนวน 30 คู่ ผลงานซื้อขาย จำนวน 11 ผลงาน และมูลค่าซื้อขายไม่น้อยกว่า 131,000 บาท ซึ่งในครั้งนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย อาทิ การจัดนิทรรศการศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคใต้ การจัดนิทรรศการ “Open House” การจัดแสดงผลงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) พร้อมทั้งมีการชี้แจงนโยบายสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษา รวมถึงการเจรจาความร่วมมือจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม (ภาคใต้ชายแดน) การเจรจาซื้อขายผลงานสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ของสถานศึกษาอาชีศึกษา จากผลงานสิ่งประดิษฐ์ทั้งสิ้น 67 ผลงาน ใน 4 รูปแบบ ได้แก่ 1. เจรจาเพื่อซื้อสิ่งประดิษฐ์หรือต้นแบบสิ่งประดิษฐ์ จำนวน 11 ผลงาน  2. แนะนำเพิ่มเติมจากสิ่งประดิษฐ์เดิมแล้วจะซื้อสิ่งประดิษฐ์ จำนวน 3 ผลงาน 3. ให้โจทย์นักศึกษาอาชีวศึกษา ในการนำไปสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อที่จะซื้อต่อไป  จำนวน 3 ผลงาน 4. ให้คำแนะนำและช่วยเป็นที่ปรึกษาในการนำไปสร้างสิ่งประดิษฐ์   ทั้งปัจจุบันและอนาคต  เพื่อดำเนินการทางธุรกิจต่อไป จำนวน 15 ผลงาน ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้นกว่า 1,000 คน อาทิ นักเรียนนักศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้บริหาร ครูและบุคลากร สำนักงานศึกษาธิการ ผู้บริหารสถานประกอบการ สภาหอการค้าและสภาอุตสาหกรรม

 

  

 

21 กันยายน 2561

ผู้ชม 641 ครั้ง

Engine by shopup.com