29 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความม.ร.จัดประชุมวิชาการภาพยนตร์อาเซียน  

ม.ร.จัดประชุมวิชาการภาพยนตร์อาเซียน  

หมวดหมู่: การศึกษา

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประธานเปิดประชุมวิชาการภาพยนตร์อาเซียนศึกษา หัวข้อ “ผู้หญิงในอาเซียน” และปาฐกถา “บทบาทของผู้หญิงในภาพยนตร์อาเซียน” โดยอาจารย์อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายในต่างประเทศ ภายในงานมีอาจารย์จเลิศ เจษฎาวัลย์ คณบดีคณะสื่อสารมวลชน คณะผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา และผู้นำเสนอผลงานทางวิชาการ เข้าร่วมด้วย จัดโดยคณะกรรมการบริหารแผนอาเซียน และคณะสื่อสารมวลชน ม.ร. เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561 ณ ห้อง 315 ชั้น 3 อาคารสุโขทัย

 



โอกาสนี้  อาจารย์จเลิศ คณบดีคณะสื่อสารมวลชน กล่าวว่า การประชุมวิชาการภาพยนตร์อาเซียนศึกษา จัดขึ้นควบคู่กับเทศกาลภาพยนตร์อาเซียน ภายใต้แนวคิด“ผู้หญิงในอาเซียน” ที่จัดฉายภาพยนตร์อาเซียนที่ได้รับรางวัลระดับโลก ซึ่งเป็นประเด็นร่วมสมัยที่น่าสนใจและมีการนำเสนอในหลากหลายมุมมองตั้งแต่ภาพยนตร์ระดับโลกจนถึงภาพยนตร์ในภูมิภาคอาเซียน ดังนั้น เวทีนี้จึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักวิชาการด้านภาพยนตร์ นักสื่อสารมวลชน อาจารย์ และนักศึกษา ซึ่งจะได้นำแนวคิดที่ได้จากการนำเสนอผลงานไปพัฒนางานด้านวิชาการซึ่งเป็นประโยชน์กับแวดวงภาพยนตร์ของประเทศต่อไป

ด้าน ผศ.วุฒิศักดิ์ อธิการบดี ม.ร. กล่าวว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกัน 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งรวมตัวกันมายาวนานกว่า 30 ปี แต่ยังมีอุปสรรคในหลายเรื่อง โดยเฉพาะอุปสรรคเชิงวัฒนธรรม ฉะนั้น ประเด็น“ผู้หญิงในอาเซียน” จะตอบโจทย์ถึงการศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม และอัตลักษณ์อีกมากให้ศึกษาเรียนรู้ รวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติเดิมที่มีต่อผู้หญิง ความเหมือนและความแตกต่างในแต่ละประเทศที่น่าสนใจ  การจัดงานครั้งนี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมงานได้เห็นมุมมองที่หลากหลายจากวิทยากรที่ศึกษาเรื่องนี้โดยตรง ถือว่าเป็นประโยชน์และมหาวิทยาลัยยินดีให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมเช่นนี้เป็นอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ การจัดเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนและประชุมวิชาการภาพยนตร์อาเซียนศึกษา “RAFF 2018” มีผู้แทนจาก 6 ประเทศในอาเซียน คือ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว และไทย มานำเสนอภาพยนตร์ และการมอบรางวัล “RAFF 2018 Professional Achievement Award” แด่ คุณพิมพกา โตวิระ ผู้กำกับภาพยนตร์หญิงที่สร้างชื่อให้กับประเทศไทยและคว้ารางวัลมากมายจากเทศกาลหนังทั่วโลก จากภาพยนตร์เรื่อง “มหาสมุทรและสุสาน (THE ISLAND FUNERAL)” ซึ่งจะเป็นภาพยนตร์ที่ฉายในพิธีเปิดงานในครั้งนี้ด้วย

 



จากนั้น อธิการบดี ม.ร.ได้เซ็นชื่อบนแผ่นโปสเตอร์เทศกาลภาพยนตร์อาเซียนฯ เป็นการเปิดงาน ต่อด้วยการปาฐกถา “บทบาทของผู้หญิงในภาพยนตร์อาเซียน” โดยอาจารย์อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายในต่างประเทศ และการนำเสนอผลงานวิชาการ

 



สำหรับการนำเสนอผลงานวิชาการครั้งนี้ มีจำนวน 6 เรื่อง ประกอบด้วย 1)เรื่อง “อาเซียนสำเนียงไทย” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ ชูมงคล หัวหน้าสาขาวิชาสื่อสารการตลาดดิจิทัล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 2)เรื่อง “เน็ตไอดลกับมุมมองวัฒนธรรมศึกษา” โดย อาจารย์จารุวรรณ กิตตินรากรณ์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 3)เรื่อง “ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยต่อการเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน” โดยอาจารย์อภิสิทธิ์ ศุภกิจเจริญ อาจารย์ประจำคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง 4)เรื่อง สตรีบนวิถีแผ่นฟิล์ม : การศึกษาผู้หญิงในภาพยนตร์ไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2540-2560 โดย นายโชติอนันต์ เกษมวงศ์หงส์ นักเขียนบทภาพยนตร์และโทรทัศน์อิสระ อาจารย์พิเศษด้านภาพยนตร์ 5)เรื่อง “เปิดปูมหนังกลางแปลงไทย : บนเส้นทางจากอดีตสู่ยุคดิจิทัล” โดย นายพรพจน์ ยิ้มเจริญ นักศึกษาระดับปริญญญาตรี คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ 6)เรื่อง “การศึกษาการผลิตและเนื้อหาภาพยนตร์เรื่องลุงบุญมีระลึกชาติ ในฐานะกรณีศึกษาภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ” โดย นายนิมิตร คินันติ บัณฑิตปริญญาโท คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง Freelance Flim Director

 

25 กันยายน 2561

ผู้ชม 497 ครั้ง

Engine by shopup.com