มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏสุราษฎร์ธานีวิจัย ครั้งที่ 14” (SRU National & International Conference 14th) “นวัตกรรมการวิจัยแบบสหวิทยาการ” (Innovations in Interdisciplinary Research) และบรรยายพิเศษ เรื่อง “นวัตกรรมการวิจัยแบบสหวิทยาการ”
โดย ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ระหว่างวันที่ 13 - 14 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเรียนรวมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าว่า มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมุ่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ เป็นการบ่มเพาะระบบคิดให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีความรู้ คู่คุณธรรม จริยธรรม สํานึกในความเป็นไทยมีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น มุ่งมั่นส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่า ซึ่งการจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติในครั้งนี้เป็นเวทีแสดงผลงานวิจัยที่ค้นพบองค์ความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่นโดยเฉพาะการวิจัยบูรณาการเพื่อ พัฒนาชุมชนท้องถิ่นและเผยแพร่ผลงาน ความรู้ด้านการวิจัยต่อสาธารณชน
ผศ.อภิชาติ พัฒนวิริยะพิศาล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้ จัดให้มีกิจกรรมทางวิชาการเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ของอาจารย์ นักวิจัย ทั้งของมหาวิทยาลัย และจากภาคีเครือข่ายอื่นๆ รวมทั้งนิสิต และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาผ่านทางการประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการนำแนวคิดการพัฒนายั่งยืนมาประยุกต์ใช้กับการวิจัยและชุมชนฐานราก เพื่อนําเสนอผลการวิจัยที่ค้นพบองค์ความรู้ในด้านการพัฒนาท้องถิ่นโดยเฉพาะการ วิจัยเชิงพื้นที่ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการนําแนวคิดการการวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในกลุ่มนักวิจัย สร้างเวทีระดับชาติในการนําเสนอผลงานการวิจัยและเผยแพร่ผลงานการวิจัยของนักวิจัยของมหาวิทยาลัย และนักวิจัยจากภาคีเครือข่าย ซึ่งมีนักวิจัยของของมหาวิทยาลัย นักวิจัยของภาคีเครือข่าย ผู้บริหารและคณะกรรมการเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษา นิสิต นักศึกษา ผู้แทนหน่วยงานราชการ องค์กรปกครอบส่วนท้อง ตลอดจนชุมชนผู้รับประโยชน์จากผลงานวิจัยเข้าร่วมประชุมมากกว่า 500 คน
การจัดประชุมทางวิชาการในครั้งนี้ แบ่งประเด็นที่เป็นเนื้อหาในการนาเสนอผลงานวิชาการออกเป็น 8 กลุ่ม ประกอบด้วย1) กลุ่มการศึกษา 2) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3) กลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 4) กลุ่มพัฒนาสังคม 5) กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ 6) กลุ่มบัณฑิตศึกษา 7) International Group 8) กลุ่มเพาะพันธุ์ปัญญา โดยรูปแบบในการจัดประชุมจะเป็นการบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิระดับชาติ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้อง การนําเสนอผลงานทางวิชาการในรูปแบบการนําเสนอปากเปล่า การนําเสนอด้วยโปสเตอร์ (Poster Presentation) การจัดนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของการประชุม และการจัดทํารายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedine)เน้นให้ผู้เข้าร่วมได้รับองค์ความรู้และข้อคิดเห็นจากผลการวิจัยที่เกี่ยวพัฒนาท้องถิ่นพัฒนาชุมชนฐานรากในแต่ละพื้นที่ เพื่อการพัฒนาภูมิภาคและประเทศและเผยแพร่สู่สาธารณะ
14 ธันวาคม 2561
ผู้ชม 650 ครั้ง