คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ จัดงานนิทรรศการแสดงผลงานของนิสิตวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ชั้นปีที่ 3 ภายใต้ชื่องานUP Cosmetic and Aesthetic Exhibition หัวข้อ Back to Nature : หวนคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งภายในงานประกอบไปด้วยการแสดงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมของสารสกัดของสมุนไพรในท้องถิ่น เพื่อฝึกให้นิสิตสามารถนำความคิดสร้างสรรค์ มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบความต้องการของผู้บริโภคเป็นการเตรียมตัวและเพิ่มทักษะของการเป็นนักวิจัย และผู้ประกอบการในภายภาคหน้า ตามวิสัยทัศน์ “ผลิตได้ ขายเป็น”
“การจัดแสดงผลงานนิสิตในครั้งที่เพื่อที่อยากให้นิสิตได้บูรรณาการราวิชา ทั้งหมด 4 รายวิชาคือ ธรรมชาติที่ใช้ในเครื่องสำอาง, ระเบียบวิธีวิจัยในเครื่องสำอาง, สุขภาพและความงาม รวมไปถึงการตลาดและการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องสำอาง โดยนิสิตจะต้องสามารถประมวลองค์ความรู้จากรายวิชาดังกล่าว เพื่อนำมาคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติ พร้อมทั้งค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับผลออกฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพร และตั้งตำหลับผลิตภัณฑ์ ร่วมไปถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภค ช่องทางในการจำหน่าย คำนวณต้นทุนและราคาในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ พร้อมนำเสนอผลงานให้ตัวแทนอาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านจากภาครัฐและภาคเอกชน อีกทั้งผลงานวิจัยของนิสิต ที่ได้คิดค้นมานี้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งเป้าไว้ว่า ในทุกปีจะต้องจดอนุสิทธิบัตรให้ได้อย่างน้อย ปีละ 5 ผลงาน” ดร.จักรินทร์ ศรีวิไล อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าว
นายภานุมาศ สีเม้ย นิสิต สาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 กล่าวว่า “ผมคิดว่าเครื่องสำอางเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องใช้ และมีอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ยาสีฟัน สบู่ แชมพู หรือครีมบำรุงต่าง ๆ การตลาดเครื่องสำอางเจริญเติบโตในทุกปี เพราะเครื่องสำอางไม่สามารถใช้เครื่องมือหรือหุ่นยนต์ในการแต่งได้จึงต้องใช้ศิลปะที่มาจากมนุษย์ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยที่มีสารสกัดจากธรรมชาติซึ่งกำลังเป็นกระแสในตอนนี้ จึงทำให้เกิดการจัดแสดงผลิตภัณฑ์และงานวิจัยในวันนี้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้กับรุ่นน้องและเป็นประโยชน์กับวงการวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางในการนำ สารสัดจากสมุนไพร ซึ่งเป็นสารที่มาจากธรรมชาติและปลอดภัย ลดปริมาณการใช้สารเคมีในอนาคต” โดยนิทรรศการได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา ณ พื้นที่ส่งเสริมการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม (UP Innovative Startup Space & GSB Innovation Club) มหาวิทยาลัยพะเยา
21 ธันวาคม 2561
ผู้ชม 804 ครั้ง