29 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความ“วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี” วิทยาลัยวิชาชีพเปิดโอกาสให้ผู้เรียนในท้องถิ่น ศึกษาทางด้านวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ

“วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี” วิทยาลัยวิชาชีพเปิดโอกาสให้ผู้เรียนในท้องถิ่น ศึกษาทางด้านวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ

หมวดหมู่: การศึกษา

เมื่อเร็วๆ  นี้ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) นำทีมคณะสื่อมวลชน เข้าเยี่ยมชมนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี  โดยมี นายเดชวิชัย พิมพ์โคตร ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี  พร้ อมคณะครูและบุคลากร นักศึกษาให้การต้อนรับ

 



ปัจจุบัน “วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี” ตั้งอยู่เลขที่  ๗ หมู่  ๑  ถนนอุดร – ขอนแก่น   ตำบลหนองไผ่  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  จัดการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถออกไปประกอบอาชีพได้  ทั้งในภาครัฐบาลและเอกชน  มีความเชื่อมั่นในตนเองด้านวิชาชีพ  สามารถสร้างงานเพื่อประกอบอาชีพอิสระได้  และมีพื้นฐานความรู้เพียงพอสำหรับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

เปิดทำการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)  ภาคปกติ  ทวิภาคี เทียบโอนประสบการณ์  และ ระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า ประเภทวิชาที่เปิดสอน วิทยาลัยฯ เปิดทำการสอน ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม และ ประเภทวิชาพานิชยกรรม  ได้แก่  สาขาวิชาช่างยนต์  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน   สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ  สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์  แผนกวิชาช่างก่อสร้างโยธา  สาขาวิชาการบัญชี และ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘  บนเนื้อที่  ๖๕  ไร่

โดยได้รับพระบรมราชานุญาต  ให้ใช้ชื่อพระราชทานพิธีกาญจนาภิเษก  เป็นนามสถานศึกษา โดยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี” และในปี พ.ศ.๒๕๔๒ ได้รับเนื้อที่เพิ่มเติมจากกรมธนารักษ์  จำนวน  ๙  ไร่  ๒  งาน  ๔๐  ตารางวา วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี ปัจจุบันมีเนื้อที่รวม ๗๔ ไร่ ๒ งาน ๔๐ ตารางวา

 

 

การดำเนินงานในปัจจุบัน  ระดับการศึกษาและสาขาที่เปิดสอน

ปัจจุบันเปิดทำการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)  ภาคปกติ  ทวิภาคี เทียบโอนประสบการณ์  และ ระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า

ประเภทวิชาที่เปิดสอน วิทยาลัยฯ เปิดทำการสอน ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม และ ประเภทวิชาพานิชยกรรม  ได้แก่  สาขาวิชาช่างยนต์  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน   สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ  สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์  แผนกวิชาช่างก่อสร้างโยธา  สาขาวิชาการบัญชี และ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ปี ๒๕๔๘  ได้รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่นด้านการวิจัยและพัฒนา

ปี ๒๕๔๘ ได้รับโล่สถานศึกษาที่ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์เข้าประกวดมากที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายเดชวิชัย พิมพ์โคตร ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี  เปิดเผยถึงจุดเด่นของวิทยาลัยว่า วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี มีปรัชญาในการตั้งวิทยาลัยที่ยึดถือเรื่องของชื่อวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี ที่ได้รับพระราชทานให้เป็น ชื่อในการจัดตั้งวิทยาลัย ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 ครองราชย์ 50 ปี และได้พระราชทานนามให้ โดยมีปณิธาน ให้เป็นเป้าหมายของสถานศึกษาคือ  วิทยาลัยวิชาชีพที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนในท้องถิ่นได้มีโอกาสศึกษาทางด้านวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ

 

 

 

สิ่งที่วิทยาลัยขับเคลื่อนในขณะนี้ คือ เรื่องของสถานศึกษาตามรอยพระยุคลบาท คือ เรื่องความเสมอภาคด้านการศึกษา  เราเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่มีความยากจน แต่มีความประพฤติดี ให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาด้านวิชาชีพ  ทางวิทยาลัยได้คัดเลือกนักศึกษาที่สมัครเข้ามาอยู่ในวิทยาลัย โดยจัดหอพักในวิทยาลัยให้เด็กเข้ามาอยู่ กินนอน  โดยเด็กกลุ่มนี้จะถูกพัฒนาอย่างเข้มข้นในเรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9  ซึ่งผ่านการดำเนินการภายใต้โครงการของวิทยาลัยคือ  โครงการเพื่อยังชีพ เด็กกลุ่มนี้ต้องทำเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวกับด้านเกษตรที่ใช้บริโภคเป็นหลัก ซึ่งผลผลิตที่ได้โดยโครงการนี้เด็กจะต้องเขียนโครงการมายืมเงินกับทางวิทยาลัยก่อน จากนั้นไปลงทุนทำ โดยผลผลิตจะนำมาจำหน่ายกับโรงครัวของตัวเอง

 

 


สิ่งที่นักศึกษาทำคือ ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่  ไก่ไข่  เป็นต้น ทางวิทยาลัยจัดงบประมาณให้นักศึกษาต่อวันคนละ 70 บาท โดยเงินทุนต้องมีอาจารย์ 1 ท่านเป็นที่ปรึกษา  เมื่อสิ่งที่นักศึกษาทำสำเร็จนักศึกษาจะมีกำไร แต่ทุนต้องคืนวิทยาลัยเพื่อใช้ในการหมุนเวียนจากรุ่นสู่รุ่น ถ้าโครงการไหนใช้ระยะเวลายาว เช่น  ไก่ไข่ก็ต้องใช้ระยะเวลา 4 เดือนภายใน 1 ภาคเรียน


ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี  กล่าวว่า สิ่งที่ประสบปัญหาในเรื่องของทางด้านเกษตรอาจจะไม่คงที่ บางทีนักศึกษาก็จะเสียใจบ้าง  เช่น เลี้ยงไก่ ไก่ก็ตาย  เพราะ สุนัขาเข้าไปกินหมดคอก นักศึกษาก็จะตกใจว่า จะเอาเงินที่ไหนมาคืน  หากเกิดกรณีอย่างนี้ ทางวิทยาลัยก็จะต้องช่วยเหลือเด็ก เพราะ เป็นเหตุสุดวิสัย

 

 

 

ด้านการฝึกทักษะวิชาชีพเฉพาะทาง   ทาง สอศ.กำหนดให้ขับเคลื่อนทั้งวิทยาลัย ซึ่งเป็นงานที่เราต้องทำทุกสาขาวิชาเป็นเป้าหมายต่อไ ป ปัจจุบันสิ่งที่เราทำคือ  ขับเคลื่อนช่างไฟฟ้า สาขาเดียวเพื่อคลุมโซน คือ ให้นักศึกษาโครงการโฮมแคร์  ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน คือ นักศึกษากลุ่มนี้ให้มีทักษะวิชาชีพอย่างเข้มข้น สามารถบูรณาการทักษะวิชาชีพที่ตัวเองเรียนมาใช้ในหน้างานได้  โดยวัตถุประสงค์ของโครงการคือ รับงานในโรงเรียน และงานจากภายนอกด้วย  เป็นรายได้เหมือนกับโครงการยังชีพ  โดยทำโครงการยืมเงินโรงเรียนไปลงทุนส่วนกำไรนักศึกษาเอาไป แต่ต่างกันตรงที่จุดประสงค์ทำในเรื่องของอาหาร การอยู่กิน แต่นี้โครงการดังกล่าวคือ เรื่องวิชาชีพ

นอกจากนี้ สิ่งที่เราขับเคลื่อนทั้งวิทยาลัย เนื่องจากว่าปัจจุบันนี้  ทั่วโลกพูดถึงทักษะในศตวรรษที่ 21 รวมไปถึงรัฐบาลก็ให้ความสำคัญและ ทาง สอศ.ยิ่งให้ความสำคัญในเรื่องนี้ คือ  ทักษะศตวรรษ โดยที่บูรณาการให้เด็กมีสมรรถนะ มีความสามารถที่จะบูรณาการ ความสามารถของตัวเองไปประกอบวิชาชีพหลังสำเร็จการศึกษาได้

นายเดชวิชัย กล่าวว่า ตนได้มานั่งคุยทั้งวิทยาลัยว่า เราจะขับเคลื่อน ทั่วโลกพูดอย่างเดียวคงไม่เห็นภาพ จึงมานั่งวิเคราะห์ซึ่งตัวแรกเราเห็นแบบอย่างหลายแห่งทำได้ดี มีการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สิ่งที่พูดถึงกันมากที่สุด คือ ทักษะการคิด  การวิเคราะห์ สังเคราะห์และครีเอทเรื่องความคิดสร้างสรรค์  เราไม่ได้คิดใหม่  เราเห็นว่ามีตัวอย่างที่ดีอีกหลายแห่งที่น่าเอาเป็นแบบอย่าง  เช่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย รวมไปถึงโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา บุรีรัมย์  ทางวิทยาลัยจึงนำจุดเด่นของหลาย ๆ วิทยาลัยดังกล่าว เรานำทุกส่วนมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ซึ่งเราได้ขับเคลื่อนมา 2 ปีแล้ว ถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะเป็นเรื่องยากพอสมควรที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนของคนที่เคยสอนเป็นรายวิชามาปรับเปลี่ยน  ขับเคลื่อนให้เด็กได้ฝึกทักษะ ในเรื่องการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์  แต่เราไม่ได้พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ เราค่อย ๆ ทำ โดยการใช้จุดเด่นที่เรามี  คือ เรามีวิชาโครงการที่ สอศ.ให้ทำอยู่แล้ว  นอกจากวิชาองค์การก่อนที่เด็กจะจบแล้วเราไม่เอา  เราให้มาซึมในทุกรายวิชา  อาจจะเป็นโปรเจคเล็ก ๆ ที่เด็กสนใจอยากจะทำและแก้ปัญหาตรงส่วนให้ทำรายวิชา ตนได้บอกครู ว่าผลสัมฤทธิ์ของเด็ก ไม่ได้อยู่ที่ผลของโครงการ แต่สิ่งที่เราเน้นคือ เด็กได้ฝึกคิดถึงปัญหา แก้ปัญหา   และเขียนนวัตกรรมออกมาได้หรือไม่ ส่วนสำเร็จหรือไม่สำเร็จเราไม่ซีเรียสส่วนนั้น ที่สำคัญคือ เด็กได้ฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตรงส่วนนี้ คือขับเคลื่อนในเรื่องของ Project-Based Learning

 

 



ขณะนี้เรามีงานนวัตกรรมที่ออกมาทุกแผนกวิชา ทุกสาขาวิชาก็จะมีแผนกนวัตกรรม แล้วนำผลงานเหล่านั้นไปต่อยอดเป็นสิ่งประดิษฐ์ของสถานศึกษาและให้เวทีส่งเข้าเวทีของสิ่งประดิษฐ์อาชีวะด้วย  เช่น กรมทรัพย์สินทางปัญญา เราได้รับการสนับสนุนปีนี้เราผ่านได้รับรางวัลระดับภาคซึ่งได้รับรางวัลมา 4 ผลงาน  ได้รับรางวัลที่ผ่านระดับชาติ มีการคัดเลือกจาก 5 ทางวิทยาลัยติด 2    โดยเขามีทุนผลงานละ 1 หมื่นบาทเพื่อที่จะมาพัฒนาผลงานตรงนี้ไปแข่งระดับชาติร่วมกับสถานประกอบการพัฒนาเอกชนในเชิงพาณิชย์ ต่อไป


ทั้งนี้  ทางวิทยาลัยยังเป็นสถานศึกษาปลอดขยะ โดยมีการจัดการขยะเหลือศูนย์ หรือ Zero Waste ...  ขยะเป็นศูนย์ ได้แนวคิดมาจาก เทศบาลตำบลศรีวิไล อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ:  ซึ่งเขาได้รับต้นแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับชาติ ไปส่งเสริมให้ชุมชน ไม่ทิ้งขยะและแปลงขยะให้เป็นเงิน ทุกครัวเรือนขับเคลื่อนกันไป จึงนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้โดยได้รับเทศบาลตำบลศรีวิไล มาให้ความรู้แนวทางการจัดการ จึงได้ขับเคลื่อนตรงส่วนนั้นมาช่วยกันขับเคลื่อนต่อไป แยกขยะจำหน่ายขยะนำเงินมาเป็นสวัสดิการในแผนก แม้ว่าการขับเคลื่อนยังไม่เต็มร้อย แต่พอใจระดับหนึ่ง ซี่งเรื่องจิตสำนึกต้องค่อย ๆ ขยับ

ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี  กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีหน้าตั้งเป้า Project-Based Learning เราอยากจะข้ามรายวิชา อยากให้มีหลาย ๆ วิชา มาบูรณาการกัน ปัจจุบันเราทำได้เพียงรายวิชา ต่อไปต้องเป็นสหวิทยาการ  อย่างมีวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคุณครู อยากให้ครูมาแชร์ประสบการณ์ทุกสาขาวิชามาแชร์กัน และแชร์กับสถานศึกษาภายนอกที่เขาทำพวกนี้อยู่ อยากให้เป็นวง ตรงส่วนนั้น

ปัจจุบันทาง สอศ.ได้มอบนโยบายขับเคลื่อน เราในฐานะหน่วยปฏิบัติในเรื่องของการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเราก็สามารถจะทำได้ในพื้นที่  ส่วนตัวตนว่า เราสามารถที่จะขับเคลื่อนตรงส่วนนี้ได้  แต่อาจมีบางจุดเล็ก ๆ เรื่องหลักสูตรแกนกลาง อาจจะเป็นอุปสรรคเล็กน้อยในการขับเคลื่อน Project-Based Learning เพราะว่าบางที รายวิชากำหนดออกมาเป็นแบบนี้ แต่ว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับเรา ตนมองว่า เราสามารถบูรณาการ ตรงส่วนนี้ได้

“จากก้าวแรก เข้ามาจนถึงตรงนี้ ตำแหน่งผู้อำนวยการปีที่ 6 ถือว่าเป็นหลักที่จะขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา สู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง เป็นตัวจักร สำคัญที่จะขับเคลื่อน เพราะ ทางภาพนโยบายเป็นผู้คิดในภาพกว้าง เขาใช้ภาพรวมของทั้งประเทศ  ผ่านกระบวนการกลั่นกรองมาพอสมควร จึงเป็นนโยบายการศึกษา ซึ่งเป็นเป้าหมายของการศึกษาภาพใหญ่ของประเทศที่จะให้มี เป้าขับเคลื่อนไป แต่หน่วย ที่จะให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย  คือ สถานศึกษา เป็นตัวจักรที่จะทำให้งานขับเคลื่อนได้ คือ ผู้อำนวยการ ผมภาคภูมิใจมาก ที่มีส่วนในทุกส่วนนี้ ได้เห็นภาพของพัฒนาการของคุณครูที่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบ Project-Based Learning  แม้จะไม่ดีที่สุด แต่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงมีความสุข ครูก็มีความสุขในการเห็นการเปลี่ยนแปลงของเด็กและ ถือว่าเราภาคภูมิใจ ที่มีส่วนในการขับเคลื่อนเป้าหมายการศึกษา ไปทิศทางการศึกษาของชาติได้” นายเดชวิชัย กล่าวทิ้งท้าย

 

28 ธันวาคม 2561

ผู้ชม 6075 ครั้ง

Engine by shopup.com