29 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความม.นครพนม ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม ฝึกเขียนอักษรธรรมโบราณอีสาน ด้านภิกษุ-สารเณร แห่เข้าอบรมเพียบ!

ม.นครพนม ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม ฝึกเขียนอักษรธรรมโบราณอีสาน ด้านภิกษุ-สารเณร แห่เข้าอบรมเพียบ!

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

โครงการจัดตั้งสถาบันศรีโคตรบูรณ์ศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม จัดโครงการฝึกอบรมการเขียนอักษรธรรมโบราณอีสาน เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูการอ่านและเขียนอักษรธรรมโบราณอีสาน โดยมีพระมหาสมัคร วรปุณโณ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุประสิทธิ์ เจ้าคณะอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดโครงการ พร้อมนำผู้เข้าร่วมอบรมประกอบพิธีแห่ใบลานรอบพระธาตุประสิทธิ์จำนวน 3 รอบ เพื่อเป็นการบูชาใบลานก่อนทำการศึกษา

 

 



ด้าน ดร.อธิราชย์ นันขันตี หัวหน้าสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม และรองประธานกรรมการโครงการจัดตั้งสถาบันศรีโคตรบูรณ์ศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม เปิดเผยว่า “การจัดโครงการดังกล่าวเป็นพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในการนำองค์ความรู้ไปเผยแพร่แก่ชุมชน อีกทั้งเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์ “เกื้อกูล” ของรัฐบาลที่ให้หน่วยงานการศึกษาช่วยเหลือจังหวัดในด้านต่าง ๆ ซึ่งพื้นที่จังหวัดนครพนมมีคัมภีร์ใบลานจารึกด้วยอักษรธรรมโบราณอยู่เป็นจำนวนมาก หากไม่ได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูเผยแพร่องค์ความรู้ไว้ จะมีโอกาสสุญหายไปตามกาลเวลา ดังนั้นทางโครงการจัดตั้งสถาบันศรีโคตรบูรณ์ศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม จึงได้จัดอบรมการเขียนอักษรธรรมโบราณอีสานขึ้น ณ วัดพระธาตุประสิทธิ์ อ.นาหว้า จ.นครพนม และวัดสว่างสุวรรณาราม อ.เมือง จ.นครพนม ในระหว่างวันที่ 19-24 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถอ่านและเขียนตัวอักษรธรรมขั้นพื้นฐานได้ เป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนได้เห็นความสำคัญของภาษาดั้งเดิมและคัมภีร์ใบลาน” ดร.อธิราชย์ นันขันตี กล่าว

 

 

 

โดยการจัดโครงการครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้เข้าอบรมเป็นจำนวนมาก ทั้งพระภิกษุ สามเณร เยาวชน และประชาชนผู้ที่สนใจในพื้นที่ ซึ่งต่อจากนี้ทางมหาวิทยาลัยนครพนม จะได้ร่วมกับทางวัดวางแผนฟื้นฟูอนุรักษ์มรดกอันทรงคุณค่าของบรรพบุรุษ เพื่อง่ายต่อการศึกษาค้นคว้า งานวิจัย ของคนรุ่นหลังสืบไป

 

 

28 มกราคม 2562

ผู้ชม 539 ครั้ง

Engine by shopup.com