ผศ.ไพศาล บุรินทร์วัฒนา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านงานวิจัยเชิงพื้นที่ กับ หน่วยงานภาคีเครือข่าย และร่วมลงนามสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย ภายใต้ชุดโครงการ “การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอปของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบนฐานศักยภาพ ทรัพยากรชุมชน และภูมิปัญญาพื้นถิ่น เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันอย่างยังยืน” ณ ห้องประชุมนนทรี ชั้น 8 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.สุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
ผศ.ไพศาล บุรินทร์วัฒนา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงค (มทร.) สุวรรณภูมิ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 9 แห่ง ได้ทำความร่วมมือด้านงานวิจัยและบริการวิชาการ เพื่อพัฒนากลไกและระบบบริหารจัดการงานวิจัยและบริการวิชาการ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและพัฒนานักวิจัยให้มีประสิทธิภาพ ติดตามและรวบรวมผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง จากความร่วมมือดังกล่าว มทร.สุวรรณภูมิ จึงได้จัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิจัยและพัฒนาผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 8 แห่ง ภายใต้โครงการ “การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอปของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบนฐานศักยภาพ ทรัพยากรชุมชน และภูมิปัญญาพื้นถิ่น เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน” โดยเป็นการจัดสรรทุนวิจัยความร่วมมือ (Matching Fund) ระหว่างหน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ มทร.สุวรรณภูมิ
ผศ.ไพศาล บุรินทร์วัฒนา อธิการบดี กล่าวเพิ่มเติมว่า มทร.สุวรรณภูมิ ได้จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือด้านงานวิจัยเชิงพื้นที่ และการลงนามสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย ภายใต้ชุดโครงการ “การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอปของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบนฐานศักยภาพ ทรัพยากรชุมชน และภูมิปัญญาพื้นถิ่น เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน” โดยเป็นการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านงานวิจัยเชิงพื้นที่ ระหว่าง มทร.สุวรรณภูมิ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ช่วยสนับสนุนการวิจัยเชิงพื้นที่ 7 หน่วยงาน คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพระนครศรีอยุธยา บริษัทประชารัฐสามัคคีพระนครศรีอยุธยา (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ตลาดโก้งโค้ง (บ้านแสงโสม) และสถาบันอยุธยาศึกษา ในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนห่วงโซ่งานวิจัยในประเด็นเรื่อง “กระบวนการออกแบบนวัตกรรมเชิงคุณค่าบนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมชาติพันธุ์มอญชุมชนบ้านเสากระโดง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา” ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพ อีกทั้งก่อเกิดความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ตนให้กับชุมชนมอญ ผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อสกัดอัตลักษณ์ชาติพันธุ์มอญกรุงศรีจากชุมชนมอญบ้านเสากระโดงผ่านกลไกการทำงานเชิงพื้นที่ และอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำอัตลักษณ์นั้นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร และเส้นทางการท่องเที่ยวต่อไป
28 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้ชม 581 ครั้ง