28 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความมทร.รัตนโกสินทร์ยกระดับงานวิจัย สร้างเวทีแลกเปลี่ยนชูนวัตกรรมใหม่ สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์สู่สากล

มทร.รัตนโกสินทร์ยกระดับงานวิจัย สร้างเวทีแลกเปลี่ยนชูนวัตกรรมใหม่ สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์สู่สากล

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (มทร.รัตนโกสินทร์) ครั้งที่ 4 The 1st  national Rmutr Conference และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มทร.รัตนโกสินทร์ครั้งที่ 1 the first International Conference ณ ห้องภาณุรังษีบอลรูม โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร

 

 



วันนี้  27 มิ.ย.62 รองศาสตราจารย์ดร.อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ รองอธิการบดีมหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กล่าวในพิธีเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ มทร.รัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 4 ว่า  การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งนี้  เรื่องการยกระดับงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งมีความพิเศษเพราะได้จัดให้มีการประชุมวิชาการระดับนานาชาติขึ้นเป็นปีที่ 1 นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญของมหาวิทยาลัยอีกก้าวหนึ่งที่ได้สร้างเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดจนนำองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ให้เป็นที่แพร่หลายในระดับสากล อันจะเป็นการช่วยพัฒนาประเทศชาติได้อีกทางหนึ่ง

 

 

 



มทร.รัตนโกสินทร์เป็นมหาวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เน้นทางด้านศิลปกรรม นอกเหนือจากภารกิจในการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญของการเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักวิชาการในสถาบันการศึกษา ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำเสนอผลงานทางวิชาการในระดับสากลอัน นำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการและการเพิ่มพูนองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัยสู่ระดับสากลต่อไป

 

 

 



ในการจัดประชุมระดับนานาชาติครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลงานภาคบรรยายและภาพโปสเตอร์โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มที่ 1 การบูรณาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มที่ 2 สังคมศาสตร์ การพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีผู้นำเสนอผลงานวิจัยจำนวนทั้งสิ้น  197 เรื่อง และเข้าร่วมการประชุมวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้จำนวนรวมทั้งสิ้น 238 คน  โดยมีวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี International engineering and technology institute เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และ Qilu institute of Technology Institute  สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ให้เกียรติเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมวิชาการในครั้งนี้

 

 

 



“การนำเสนอผลงานวิจัย หลักๆ จะเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งเรามีความแข็งแกร่งทางด้านนี้แต่เรามองเห็นว่า เพื่อให้ประเทศมีความยั่งยืนเราจึงนำด้านสังคมศาสตร์เข้ามาด้วย ซึ่งทางสายสังคมจะมุ่งเน้นงานวิจัยเกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะ มทร.รัตนโกสินทร์นั้นเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นทางด้านชุมชน และมหาวิทยาลัยเองมีโครงการกับทางสกว.ซึ่งปัจจุบันนี้ไปอยู่ในกระทรวงใหม่เปลี่ยนชื่อเป็น สก.สว.ซึ่งทางสก.สว.ให้งบประมาณในการสนับสนุนงานวิจัยในเรื่องของการลงพื้นที่

อย่างไรก็ตาม เรามีการโชว์ผลงานทางด้านงานวิจัยลงพื้นที่ เช่น เรือที่ขับเคลื่อนในการขนส่งนักท่องเที่ยวในหมู่บ้านศาลาดินไปใช้ในการพานักท่องเที่ยวโดยเปลี่ยนจากระบบเครื่องยนต์เป็นระบบไฮบริด ซึ่งต่อไปเมื่องานนี้สำเร็จเรือที่ใช้ในการพาท่องเที่ยวไปชมบ้านศาลาดินชมแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนาบัว ฟักข้าวจะไม่มีเสียงเกิดขึ้นและช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมไม่ให้เกิดควันพิษต่าง ๆ อีกด้วย งานวิจัยของเราจะตอบสนองทางด้านเศรษฐกิจสังคมโดยเฉพาะในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยด้วย งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ  เรามีความแข็งแกร่งโดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มีการผลิตหุ่นยนต์นำมาใช้สำหรับในอนาคตที่จะเกิดขึ้นจะเห็นว่า ตอนนี้รัฐบาลเองพยายามมุ่งเน้นให้มีการวิจัยที่ใช้หุ่นยนต์ในเรื่องของการผลิตต่างๆ ในส่วนของคณะอื่น ๆ เราพยายามที่จะมองอนาคตว่า จะทำยังไงให้งานวิจัยทางด้านสังคมเกิดขึ้น

 

 

 



มทร.รัตนโกสินทร์เราดูเรื่องของวิสัยทัศน์การผลิต เข้าสู่สังคมการประกอบการเพราะฉะนั้นก็จะตรงกับนโยบายที่รัฐบาลพยายามให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ มาตอบสนองและทำให้ประเทศนั้น มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ฉะนั้นในการทำวิจัยในอนาคตต่อไป ของมหาวิทยาลัยเราคงไม่ได้มองแค่งานวิจัยแต่เรามองว่างานวิจัยที่ออกมานั้นจะต้องสามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ซึ่งจะตรงกับทางเป้าหมายของรัฐบาลที่จะไม่ให้งานวิจัยไม่ขึ้นหิ้งอีกต่อไป ซึ่งจะนำเข้าไปสู่ในเชิงพาณิชย์ซึ่งตอนนี้ทำอะไรก็มีงานหลายๆ งานที่จดลิขสิทธิ์อย่างเป็นทางการแล้วการต่อยอดของงานวิจัย แล้วก็จะทำให้เรามองว่าเราได้งบประมาณมาส่วนหนึ่งแล้วต่อยอดมองว่านักท่องเที่ยว ช่วยในเรื่องของการมลภาวะสิ่งแวดล้อมในเรื่องของควันของเครื่องยนต์ต่างๆให้มันลดน้อยลงถ้าโครงการนี้สำเร็จเราอาจจะต่อยอดซึ่งจะของบประมาณเพิ่มเติมจากสกว.เช่น รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าสามารถต่อยอดในเรื่องของเชิงพาณิชย์ได้อย่างไรในมหาลัยมีขั้นตอน ที่จะผลักดันให้นักวิจัยที่ส่งงานวิจัยที่จะพัฒนาต่อยอดต่อไป

 

 

 



สำหรับงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 26 - 28 มิถุนายน 2562  เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัยได้ติดตามข้อมูลทิศทางการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาทางด้านการวิจัย การพัฒนาทางด้านวิชาการของประเทศและได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานวิจัยรับฟังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ วิจัยตลอดจนเกิดเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย อีกทั้งนวัตกรรมการเรียนรู้แนวความคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาและคิดค้นงานวิจัยเพื่อเป็นช่องทางในการคัดสรรผลงานการวิจัยที่มีศักยภาพนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้บรรยายพิเศษเรื่องทิศทางและกรอบงานวิจัยภายใต้ กระทรวงอุตสาหกรรมและนวัตกรรม

 

 

27 มิถุนายน 2562

ผู้ชม 673 ครั้ง

Engine by shopup.com