28 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความกสอ.ปั้นนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรุ่นใหม่ จัดกิจกรรม ID Creator  ปีที่2 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

กสอ.ปั้นนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรุ่นใหม่ จัดกิจกรรม ID Creator  ปีที่2 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

หมวดหมู่: การศึกษา

 

กรุงเทพฯ 26 มิถุนายน 2562 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)ดันกิจกรรม ID Creator ประจำปี 2562  ตามหานักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรุ่นใหม่ ผุดผลิตภัณฑ์ต้นแบบกว่า 50 ชิ้นงานเน้นผลิตสินค้านวัตกรรม ผสานความคิดสร้างสรรค์ สร้างมูลค่าสูงโดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลรองชนะเลิศ ทั้ง 4 ท่านจะได้รับเงินรางวัลและไปศึกษาดูงานทางด้านอุตสาหกรรม ณ ประเทศเกาหลี

 

 


 



นายจารุพันธ์ จารโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้ยุทธศาสตร์ 20 ปีของรัฐบาลนั้น เราพยายามเน้นในเรื่องของศักยภาพของบุคลากร  ซึ่งนักออกแบบเป็นส่วนหนึ่งที่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญในการสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาโดยกลยุทธ์ใช้ตลาดนำแต่ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจหรือแนวโน้มการพัฒนาในเรื่องของสินค้า บริการ หรือผลิตภัณฑ์เปลี่ยนไป ทำอย่างไรให้ตลาดสอดคล้องกับตัวผลิตภัณฑ์  ซึ่งก่อนหน้านี้จะเห็นว่า ทาง SME หรือผู้ประกอบการโดยทั่วไปจะเป็นเจ้าของเอง คือ เจ้าของธุรกิจเป็นนักออกแบบเอง  ผลิตเอง รวมถึงดูทุกอย่างเอง แต่เนื่องจากเมื่อผลิตไปสินค้านั้นอาจจะไม่ตอบสนองความต้องการของตลาด ในยุทธศาสตร์จึงเริ่มมีนักออกแบบมาใช้ในการที่จะพัฒนาให้เขามีขีดความสามารถในการที่จะออกแบบสินค้าบริการต่าง ๆ ซึ่งวันนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเครื่องเรือน  เฟอร์นิเจอร์ของตกแต่ง  อุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งจะทำอย่างไรให้ตอบสนองความต้องการของตลาด เราอาจจะออกแบบโดยใช้ทักษะโดยทั่ว ๆ ไป  แต่ปัจจุบันการออกแบบจะเริ่มการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ใช้เรื่องของ ซอฟท์แวร์  เรื่องแพลตฟอร์ม ต่าง ๆ มากขึ้น

ที่สำคัญคนที่จะครีเอทเรื่องเหล่านี้ได้คือ นักออกแบบ  ขณะนี้นักออกแบบจะเป็นหัวใจสำคัญในการที่จะเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ ทำอย่างไรให้มีความโดดเด่นแตกต่างกันออกไป ในสินค้าต่าง ๆ นั้นเป็นหัวใจที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้พยายามสร้างนักออกแบบขึ้นมาทุกปี จะเห็นว่าในแต่ละปีจะมีเด็กรุ่นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาที่ใกล้จบหรือปีสุดท้าย เราคาดหวังว่า หลังจากที่น้อง ๆ  ผ่านการอบรมลักษณะการบ่งเพาะให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของเทรนต่าง ๆ  ทำอย่างไรถึงจะบริหารจัดการในเรื่องของการออกแบบได้ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครื่องจักร  เทคโนโลยีก็ตาม แต่ถ้าการบริหารจัดการไม่ดีก็จะทำให้การดำเนินธุรกิจนั้นล้มเหลวได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เราพยายามสร้างคนอยู่  ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบทั้งที่เป็นนักออกแบบฟรีแลนด์ หรือนักออกแบบที่อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมเองเราก็ไม่ได้ทอดทิ้ง เราพยายามพัฒนาทักษะให้เขามีขีดความสามารถที่จะไปออกแบบสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้และนักออกแบบพวกนี้ต้องสร้างความเชื่อมโยงในแต่ละสถานที่ได้

 

 

 



กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จึงได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ จัดงาน ID Creator ประจำปี 2562 ขึ้น ภายใต้กิจกรรมสร้างนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Design) เพื่อสร้างนักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะนักออกแบบรุ่นเยาว์ (Young Designer) ให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุค 4.0 โดยปีนี้ได้เน้นแนวคิดปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าที่เป็น Mass ไปสู่การผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรมและมูลค่าสูง (High Value) ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ร่วมกับความคิดเชิงสร้างสรรค์

 

 

 

 



การจัดงาน ID Creator ในนี้ จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 มีกลุ่มเป้าหมายหลัก 2 สาขา คืออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และ อุตสาหกรรมเครื่องเรือนและผลิตภัณฑ์ไม้ เพื่อผลักดันและเสริมสร้างศักยภาพของนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรุ่นใหม่ให้ได้รับการพัฒนา ความรู้ ทักษะ ทั้งในด้านกรอบแนวคิด รูปแบบ และประโยชน์ใช้สอย ให้สามารถนำไปประยุกต์ ปรับใช้ได้จริง และสามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากการออกแบบและจากการผลิตให้ทันยุคสมัย โดยส่วนตัวเชื่อว่า นักออกแบบรุ่นใหม่ของไทยจะสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมได้อย่างไม่น้อยหน้าใครในอาเซียน และพร้อมจะก้าวไปสู่ระดับเอเชีย รวมถึงระดับโลกในอนาคตได้อย่างแน่นอน

 

 

 



นางวันเพ็ญ รัตนกังวาล ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (กส.กสอ.) กล่าวว่า โครงการนักออกแบบที่เป็น Industrial Designได้ผลตอบรับจากหลาย ๆ มหาวิทยาลัย มากกว่าปีที่แล้ว  ปีนี้เราเพิ่มจำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการจาก 30 คน เป็น 50 คน  มาจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จะเห็นได้ว่า การที่นักศึกษารุ่นใหม่ สนใจเรื่องการออกแบบ นับว่าเป็นมิติที่ดีสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่จะมีนักออกแบบใหม่ ๆ เข้ามาช่วยเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะตอบสนองความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่น้อง ๆ ออกแบบสามารถตอบสนองปัญหาและอุปสรรคของผู้บริโภคทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้นสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่และคิดว่าจะดำเนินการต่อเนื่องไปทุก ๆ ปี

สำหรับกิจกรรม Industrial Design ได้เปิดรับสมัครนิสิต นักศึกษาปีที่ 2 3 และ 4 หรือ นิสิต นักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษาไม่เกิน 1 ปี ด้านการผลิตและการออกแบบที่มีความประสงค์จะเป็น นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จำนวนไม่ต่ำกว่า 50 คน และได้จัดฝึกอบรมหลักสูตร Industrial Design โดยผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายแขนงผ่านหัวข้อการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ตลอดระยะเวลากว่า 6 เดือน และทำการประกวดคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นเพื่อมอบรางวัลในแต่ละสาขา โดยมีรางวัลชนะเลิศ 2 รางวัล รองชนะเลิศ 2 รางวัล และรางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่

 

รางวัลชนะเลิศ

  • สาขาอุตสาหกรรมเครื่องเรือนและผลิตภัณฑ์ไม้นายธนดล พิสิฐาภรณ์ ผลงาน SAK KA RA มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์     
  • สาขาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน

นายอัครวินท์ โพธิ์ศรี ผลงาน SAVE SAFE สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

 

 

รางวัลรองชนะเลิศ

  • สาขาอุตสาหกรรมเครื่องเรือนและผลิตภัณฑ์ไม้

นางสาวพิชชาพร  เอื้ออังกูลศิริ   ผลงาน FLEXI SEAT มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

  • สาขาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน

นายชัชวาล วู้ชัยภูมิ ผลงาน 3A มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

รางวัลชมเชย

  • สาขาอุตสาหกรรมเครื่องเรือนและผลิตภัณฑ์ไม้

นางสาวขวัญทิพย์ ทองอิ่น ผลงาน BASSAR CHAIR มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

  • สาขาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน

นายศิริมงคล ชัยดา ผลงาน ขาตั้งอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จ.ลพบุรี

 

โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลรองชนะเลิศ ทั้ง 4 ท่านนี้ จะได้รับโอกาสในการไปศึกษาดูงานทางด้านอุตสาหกรรม ณ ประเทศเกาหลี

 

 

 

 

 


นอกจากนั้นภายในงานยังมีดารานักแสดงศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มาร่วมงานการประกาศผลฯ ดังกล่าว ได้แก่ จิ๊บ ปกฉัตร เทียมชัย รับหน้าที่เป็นพิธีกร และ บลู-พงศ์ทิวัตถ์ ตั้งวันเจริญ ดาราดาวรุ่ง ร่วมเชิญรางวัลพร้อมทั้งช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับวัยรุ่นวันเรียนทุกสาขาวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในด้านที่ตนเองถนัด เพื่อให้ประสบความสำเร็จอีกด้วย

 

 

 

28 มิถุนายน 2562

ผู้ชม 656 ครั้ง

Engine by shopup.com