28 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความสภาการศึกษาลงพื้นที่จังหวัดนครพนม ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่

สภาการศึกษาลงพื้นที่จังหวัดนครพนม ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

สภาการศึกษานำทีมกรรมการสภาการศึกษาและทีมสื่อมวลชน ลงพื้นที่ดูงานสถานศึกษาเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา เร่งขยายผลสภาพปัญหาเพื่อนำไปเสนอ ความคิดเห็นต่อกระทรวงศึกษาธิการและคณะรัฐมนตรี (ครม.)

 

 

 

เมื่อวันที่ 10-11 กรกฎาคม 2562 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)จัดโครงการศึกษาดูงานสถานศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ให้กับกรรมการสภาการศึกษา จังหวัดนครพนม

 

 

 

 

ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา  กล่าวภายหลังจากการลงพื้นที่ว่า จากการเยี่ยมชมสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  พบการหลากหลายในการจัดการศึกษา เพราะ กศน. เน้นการจัดการศึกษาระดับ ปวช.ไปถึงมัธยมปลาย  พร้อม ๆ กับการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย สิ่งที่เป็นข้อดีของกลุ่ม กศน. อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ซึ่งมีกลุ่มของผู้สูงอายุได้เข้ามาใช้บริการจำนวนมาก ทั้งในแง่ของการศึกษาตามอัธยาศัยและการพัฒนาทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลง   สิ่งที่พบจาก กศน.อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม คือ เรื่องการมีความสุขของผู้สูงอายุ เพราะ มีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน  กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เรียนรู้ไปพร้อมกัน และได้สังคมไปพร้อมกัน สิ่งที่เขาสามารถพัฒนาต่อเนื่องได้ คือ  ผู้เรียนบางครั้งก็กลายเป็นคุณครู  เพราะเขามีความรู้ในส่วนที่เขามีสามารถที่จะถ่ายทอดให้เพื่อนและ ให้ครู กศน.ได้

 

ดร.สุภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า  ส่วนการเยี่ยมชมการจัดการศึกษาเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ณ โรงเรียนเซนต์ยอแซฟ นครพนม สังกัด สช. นั้น  การจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนจะมีข้อจำกัดในการลงทุนเยอะ  เขารู้ว่าคุณภาพต้องการอะไร แต่การขยายการลงทุนเป็นไปได้ยาก สิ่งที่น่าทึ่ง เราพบว่า 11 เปอร์เซนต์ผู้เรียนในโรงเรียนแห่งนี้ ถ้าไม่ได้รับทุนก็ได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียน ถือว่าเยอะทีเดียว การจัดการศึกษามีความพร้อมเรื่องการเรียน มีครูภาษาต่างประเทศที่พร้อมในด้านการจัดการศึกษา สิ่งที่เห็นผลกระทบจากโรงเรียนเอกชน คือ เมื่อพ้นระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป เด็กจะไปอยู่ที่โรงเรียนของรัฐที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่กว่า ซึ่งทางโรงเรียนเข้าใจดี น่าชื่นชมที่สามารถดูแลการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ

 

 

 

 

 

นอกจากนี้ การศึกษาดูงานและเยี่ยมชมการจัดการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม ณ โรงเรียนนครพนมวิทยาคม สพม.เขต 22

 

ดร.สุภัทร กล่าวว่า“โรงเรียนแห่งนี้มีขนาดใหญ่มีนักเรียน 2,300 กว่าคน จัดการศึกษา ม.1- ม.6 มีหลักสูตร EP หลักสูตรวิทยาศาสตร์   ซึ่งโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ค่อนข้างโดดเด่น สิ่งที่เราได้เห็นคือ ความหลากหลายในการจัดการศึกษาของท่านผู้บริหารและคุณครู ส่งเสริมให้นักเรียนทำในสิ่งที่ชอบ เช่น เล่นดนตรี เล่นกีฬา อาจจะเป็นข้อได้เปรียบของโรงเรียนขนาดใหญ่  มีสนามกีฬา มีสระว่ายน้ำ มีสนามมวย มีวงดุริยางค์ซิมโฟนี มีเครื่องอุปกรณ์กีฬาทั้งหมดหลักล้าน ไม่เสียดายที่จะให้เด็กได้ใช้ ซึ่งการลงทุนบางเรื่องที่ไม่ใช่อุปกรณ์การศึกษา  คือ อุปกรณ์พัฒนาทักษะของเด็ก แสดงให้เห็นถึงการส่งเสริมการแสดงความสามารถตามความชอบของเด็ก เด็กทุกคน ไม่จำเป็นต้องเรียนเก่ง แต่เก่งกิจกรรมอื่น ๆ การเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่การพัฒนาทักษะต่อยอดในอนาคตได้ การเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่ทักษะการประกอบอาชีพ ควรจะจัดให้เด็กอย่างหลากหลาย  การสนับสนุนของโรงเรียนดีมาก น่าประทับใจ โรงเรียนแห่งนี้ไม่เพียงแต่ดูแลเด็กของตนเอง ยังสามารถเผื่อแผ่ให้คนอื่นได้ใช้ประโยชน์  สิ่งเหล่านี้จะเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนในพื้นที่ได้เข้ามาร่วมพัฒนาเช่นเดียวกัน เช่น หากโรงเรียนอื่นขาดครูภาษาจีน เขาก็ส่งครูไปช่วยได้ ซึ่งเราอยากจะเห็นการส่งเสริมคุณภาพซึ่งกันและกันในโรงเรียนต่าง ๆ ” 

 

 

 

 

และสุดท้าย เลขาธิการสภาการศึกษา  กล่าวในการดูงานการบริหารจัดการและการบริการการศึกษาแก่คนพิการ ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดนครพนม ของ สพฐ. ว่า น่าชื่มชมมากสิ่งที่เขาพัฒนาการในแง่ของกายภาพ  เขาเริ่มงานก่อสร้างมาในปี 2554-2555 สิ่งที่เขาทำคือ การดูแลเด็กพิการซึ่งมีหลายประเภท แต่ที่โดดเด่น คือ โรคออทิสติก เด็กที่มีปัญหาบกพร่องอื่น ๆ  ที่มองไม่เห็นด้วยสายตา รวมแล้ว 100 กว่ารายที่มาศูนย์ฯ ทุกวัน ในการบริการของเขาประมาณ 110 ราย  และมีอีก 140 ราย ที่เขาต้องไปดูแลถึงที่บ้านเพราะว่าเด็กเหล่านั้นไม่สามารถมาที่ศูนย์การศึกษาพิเศษได้ เนื่องจากสภาพร่างกายไม่สามารถออกจากบ้านได้ หรือมีพื้นที่อยู่ห่างไกลถิ่นทุกรกันดาร ครูจะเข้าไปในวันศุกร์อาทิตย์ละ 1 ครั้ง รวมแล้วมีเด็กที่ต้องดูแลในศูนย์ฯประมาณ 300 คน

 

 การดูแลของกลุ่มเด็กพิเศษเหล่านี้ เด็กมีหลายแบบทั้งการคัดกรอง เราไม่สามารถดูอายุได้ แต่ดูที่ความสามารถ เช่น เด็กอายุ 8 ปีแล้ว แต่อาจมีระดับความสามารถ 3 ขวบ ก็ต้องจัดการเรียนการสอนให้เขา  ให้เขาเรียนรู้ในการดำรงชีวิต แยกแยะสิ่งต่าง ๆ  มีอยู่ 2-3 ตัวอย่าง เช่น  เด็ก 5-6 ขวบ เดินไม่ได้  ต้องคลานด้วยเข่า ใช้พัฒนาการ 2-3 เดือน จึงเดินได้ แต่ก็ต้องใช้เวลา เข่าที่เคยด้านก็จะไม่มีสภาพนั้นอีก เด็กบางคนมีพลังงานเยอะ  เขาจะมีห้องให้เด็กได้ใช้พละกำลัง  วิ่งเล่นให้พลังงานลดทอนลงไป จากนั้นเข้าคลาสให้ครูสอนได้  เริ่มจากการแยกแยะใช้สี การลองเล่นวาดภาพไม่ใช่การเรียนแบบในระบบ แต่เป็นการใช้วิธีการให้เด็กมีความสนใจให้เด็กใช้ชีวิตปกติได้

 

เป้าหมายสำคัญของการศึกษาพิเศษคือ ให้เด็ก ทุกคนที่ผ่านการดูแลจากศูนย์นี้ ซึ่งอาจจะใช้เวลา แต่มี ข้อจำกัดคือ ดูแลได้ถึงอายุไม่เกิน 18 ปี  อยากทำให้เขาดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้แบบคนปกติ ไม่เป็นภาระสำหรับคนอื่น และจะมีเด็กบางคนสามารถพัฒนาเข้าสู่การศึกษาในระบบ หรือ ป.1 ได้   สิ่งที่ศูนย์การศึกษาพิเศษทำคือ ครูจะดูแลเด็ก 1 ต่อ 1 เพราะเด็กจะมีสมาธิสั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถ เด็กที่พัฒนามาเรื่อย ๆ  ข้อที่น่าสนใจคือ เขามีระบบคัดกรอง มีการให้เด็ก Learn and play ไปเรื่อย ๆ มีการลดระดับอารมณ์ของเด็ก บางทีเด็กมีอารมณ์รุนแรง สิ่งที่น่าประทับใจคือ เขามีหน่วยงานที่วิ่งเข้าไปถึงศูนย์ระดับตำบลอยู่ด้วย แต่ละศูนย์มีครูและพี่เลี้ยงไม่เยอะประมาณ 1-3 คนต่อจำนวนเด็ก  4-6 คน  ตัวเลขไม่เกิน 1 ต่อ 2  เพราะเด็กพวกนี้ต้องดูแลเป็นพิเศษตลอดเวลา

 

“สิ่งที่ต้องไปขยายผลต่อเด็กพิการกลุ่มนี้ เนื่องจากแผนการศึกษา แผนการปฏิรูปที่มีอยู่แล้ว ไม่ได้เขียนถึงวิธีการปฏิบัติ เราต้องไปออกมาตรการหรือวิธีปฏิบัติเพิ่มขึ้น วันนี้เราเห็นเรื่องของศูนย์ฯ มีความสำเร็จได้เพราะว่า เขามีนักจิตวิทยา  เขามีนักกายภาพบำบัดมีหลายสาขาวิชาที่ครบ จะไม่มีจำนวนเพียงพอสำหรับการกระจายทั้งหมด  แต่ว่าศูนย์นี้มีครบที่จะให้บริการกับเด็ก โดยเฉพาะเด็กออทิสติก  และจะมีคนนำเด็กเข้ามาที่ศูนย์นี้มากขึ้น  ส่วนหนึ่งเขาพยายามที่จะสร้างให้ผู้ปกครองยอมรับว่า ลูกตัวเอง มีความบกพร่องบางเรื่อง ซึ่งมาให้เขาดูแลในเบื้องต้น  กลับไปสอนผู้ปกครองให้ดูแลเด็กเวลาอยู่ที่บ้าน เพราะว่า เวลาอยู่ที่โรงเรียนเด็กพัฒนาไปได้ไกล แทนที่จะเป็นภาระของผู้ปกครอง มันไม่ใช่ดูแลผู้บกพร่องแต่ว่าให้วิธีการ กับผู้ปกครองด้วย และอีกอย่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เขาใช้ หลายอย่างพัฒนาร่วมกับผู้ปกครอง เช่น  ลูกเขามีปัญหาเรื่องการเดิน ผู้ปกครองพยายามทำรถเข็น เพื่อให้ลูกสามารถเดินได้ด้วยตัวเอง  ทำมาจากกระต่ายขูดมะพร้าวและเสริมด้วยล้อ 3 ล้อ  รถเข็นพอเข็นเด็กก็จะล้ม เขาก็เอาถุงทรายถ่วงน้ำหนักไปกดที่ตัวรถ ไม่ให้รถล้มง่าย ๆ  สามารถสร้างกล้ามเนื้อได้ ทั้งแขนทั้งขา  ” ดร.สุภัทร กล่าวในที่สุด

 

 

การลงพื้นที่ของสภาการศึกษาและกรรมการสภาการศึกษา  ทำให้เห็นถึงความหลากหลายของการจัดการศึกษา เห็นถึงความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา ซึ่งกรรมการสภาการศึกษาจะรวบรวมข้อมูลเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการและคณะรัฐมนตรี เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครพนมต่อไป

18 กรกฎาคม 2562

ผู้ชม 783 ครั้ง

Engine by shopup.com