28 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความงานวิจัยเปลี่ยนโลก ตำรับยาสมุนไพรรักษาโรค “สะเก็ดเงิน” ผลงาน นศ. ม.รังสิต คว้ารางวัลชนะเลิศ และกวาดรางวัลอีกหลายเวที

งานวิจัยเปลี่ยนโลก ตำรับยาสมุนไพรรักษาโรค “สะเก็ดเงิน” ผลงาน นศ. ม.รังสิต คว้ารางวัลชนะเลิศ และกวาดรางวัลอีกหลายเวที

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

ตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคสะเก็ดเงิน ของกลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต คว้ารางวัลชนะเลิศ ในการประชุมวิชาการเวชกรรมไทยระดับชาติ ครั้งที่ 1 และรางวัลชมเชย  จากเวที "Agri Plus Award 2019”

 

 

 

 

 

นายนีโอ ยาเบศ เกตุศร นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาการแพทย์แผนไทยบัณฑิต วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการวิจัยและพัฒนาตำรับยาสมุนไพรว่า ตนมีความสนใจเรื่องสมุนไพรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  จึงเลือกเรียนต่อด้านการแพทย์แผนไทย ระหว่างที่เรียนได้เริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยในวิชาเกี่ยวกับสุคนธบำบัด ซึ่งตรงกับมีการประกวด Startup Thailand League 2018 จึงส่งผลงานเข้าประกวดและได้รับรางวัลจากเวทีนี้ ทำให้เรารู้สึกมั่นใจและมีแรงบันดาลใจในการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรมากขึ้น และถ้ามีโอกาสก็อยากส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในเวทีต่างๆด้วย เพื่อหาประสบการณ์นอกห้องเรียนและเปิดโลกทัศน์ให้แก่ตนเอง

 

 

 

 

จากประสบการณ์ตรงที่ได้เห็นผู้ป่วยมีอาการทางผิวหนังของโรคสะเก็ดเงินซึ่งเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด ส่วนใหญ่จะรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันโดยรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น แก้คันด้วยครีมสเตียรอยด์ ซึ่งจะมีปัญหาผลข้างเคียงของการใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หากเปลี่ยนมาใช้ยาสมุนไพรทางการแพทย์แผนไทยชนิดทาทางผิวหนังและไม่มีอาการข้างเคียงก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนไข้ จึงได้ร่วมกันกับเพื่อนในคณะอีก 2 คน คือ นางสาวภาศิริ โยธินพนาเวศ นักศึกษาสาขาวิชาการแพทย์แผนตะวันออก  และนายภูพล พิมพาแสง นักศึกษาสาขาวิชาแพทย์แผนไทย เลือกทำโครงการปัญหาพิเศษเรื่องนี้ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา คือ รศ.ดร.ภก.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ และ ภญ.ยุพาภรณ์ สำเภาพันธ์ ได้เริ่มศึกษาและคัดเลือกตำรับยาสมุนไพรต่างๆ จากคัมภีร์แพทย์แผนไทย จนมาพบตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคสะเก็ดเงินจากศิลาจารึกวัดโพธิ์ที่เป็นยาดองและใช้ทาบริเวณผิวหนังที่คัน ตำรับยานี้มีส่วนประกอบตัวยาสมุนไพร 9 ชนิด

 

ซึ่งวิธีการเตรียมในรูปแบบยาดองเหล้าอาจจะไม่สะดวกในยุคปัจจุบัน จึงได้คิดพัฒนาด้วยการใช้เทคโนโลยีสมุนไพรโดยมีการสกัดเข้มข้นและพัฒนาในรูปแบบยาครีมที่มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานตั้งแต่วัตถุดิบ สารสกัด และยาสำเร็จรูป ที่ยังคงคุณค่าด้านประสิทธิผลและความปลอดภัยเหมือนกับตำรับยาดั้งเดิม พร้อมกับมีการทดสอบเบื้องต้นโดยนำมาจ่ายแก่ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่หมดหวังจากยา สเตียรอยด์ที่คลินิกโดยแพทย์แผนปัจจุบันและพบว่าได้ผลดี ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าวได้จัดแสดงในงานเปิดศูนย์ GSB Innovation Club by GSB Startup ของมหาวิทยาลัยรังสิต ด้วยหวังว่าจะไม่ทำให้งานวิจัยต้องขึ้นหิ้ง โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาวิจัยต่อจนได้เป็นยาทาพัฒนาจากตำรับยาสมุนไพรไทย ที่สามารถขึ้นทะเบียนยากับสำนักคณะกรรมการอาหารและยา และเข้าอยู่ในบัญชียานวัตกรรมไทย ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยชาวไทยได้เข้าถึงยาได้ในโรงพยาบาลรัฐแล้ว ก็อาจเป็นก้าวแรกของยาสมุนไพรไทยมุ่งสู่เวทียาสมุนไพรโลกอีกด้วย อันจะเป็นการเพิ่มทางเลือกการรักษาให้แก่ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินทั้งโลกจำนวน 100 ล้านคน (จากข้อมูลรายงานขององค์การอนามัยโลก)

 

 การพัฒนาเป็นตำรับยาสมุนไพรในรูปแบบครีมนั้นก็เพื่อความสะดวกในการใช้สำหรับผู้ป่วยและเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ ทีมงานจึงได้ส่งผลงานเรื่อง การพัฒนาตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคสะเก็ดเงินในรูปแบบยาทา เข้าร่วมประกวดได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการเวชกรรมไทยระดับชาติ ครั้งที่ 1 ของสมาคมเวชกรรมไทย จัดที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเราเป็นทีมนักศึกษาเพียงทีมเดียวที่ส่งผลงานเข้าประกวดและได้รับชัยชนะ นอกจากนี้ได้เข้าร่วมประกวดและได้รับรางวัลชมเชยจากเวทีการประกวดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากสินค้าเกษตรไทย (Agri Plus Award 2019) จัดโดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

 

 

 

โดยมีนักศึกษาแพทย์แผนตะวันออกอีก 2 คน ที่มีส่วนช่วยเหลือในขั้นตอนการนำเสนอเผยแพร่ผลงานคือ นางสาวพิทยาภรณ์ รัศมีงาม นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาแพทย์แผนจีนบัณฑิต และนางสาวนวดารา ลืออำรุง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาแพทย์แผนไทยบัณฑิต

นางสาวพิทยาภรณ์ รัศมีงาม เล่าว่า งานวิจัยที่เพื่อนทำเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าตนจะเรียนคนละสาย แต่คิดว่าน่าจะเป็นการเพิ่มความรู้ด้านสมุนไพรให้แก่ตนเอง และน่าจะมีส่วนช่วยเผยแพร่งานวิจัยชินนี้ได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จึงเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ ซึ่งหลังจากผลงานได้รับรางวัลก็รู้สึกดีใจและภาคภูมิใจมากที่งานวิจัยและพัฒนาสมุนไพรนี้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนและวงการแพทย์แผนไทยเพราะกว่าที่จะได้ตำรับยาสมุนไพรเราต้องศึกษาวิจัยจากตำรับยาโบราณและหาสมุนไพรตามตำรับยานั้น ซึ่งค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือสามารถวิจัยและพัฒนาตำรับยาขึ้นมาเพื่อช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงินให้แก่ผู้ป่วยได้ 

 

 

ด้านนางสาวนวดารา ลืออำรุง กล่าวเสริมว่า อยากให้คนไทยอนุรักษ์และปกป้องภูมิปัญญาของไทยเอาไว้ เพราะตำรับยาสมุนไพรโบราณนั้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคได้ดีมาก ซึ่งยิ่งถ้าเราศึกษาวิจัยและพัฒนายาสมุนไพรโบราณตำรับต่างๆ ด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัย เราก็จะได้ตำรับยาที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคได้เป็นอย่างดี ถือเป็นการสืบสานมรดกอันล้ำค่าที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เพราะปัจจุบันชาวต่างชาติให้ความสำคัญและสนใจงานวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรเป็นอย่างมาก และมีการจดสิทธิบัตรสมุนไพรบางชนิด จึงอยากให้ คนไทยตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องสมุนไพรให้มากขึ้น

 

19 กรกฎาคม 2562

ผู้ชม 863 ครั้ง

Engine by shopup.com