วันที่ 9 มกราคม 2563 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกบุกและแปรรูปบุก เกษตรอินทรีย์บ้านทุ่งแพม “จัดพิธีปลูกกัญชาต้นแรก” ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนากัญชาทางการแพทย์ บ้านทุ่งแพม ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อเป็นการเริ่มต้นการบวนการผลิตกัญชาทางการแพทย์อย่างเป็นทางการ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ของการปลูกกัญชาให้แก่ผู้สนใจได้รับทราบ โดยได้รับเกียรติจาก ร้อยเอก นายแพทย์ภูรีวรรธน์ โชคเกิด สาธารสุขนิเทศก์ เขต 1 ผู้แทนนายอนุทิน ชาญวรีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการปลูกกัญชาต้นแรก, นายธนกฤติ ฉันทะจำรัสศิลป์ นายอำเภอแม่สะเรียงเป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน จากนั้น ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นผู้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงานต่อประธานในพิธี และการจัดงานในครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก พลเอกธวัชชัย สมุทรสาคร สมาชิกวุฒิสภา ได้ขึ้นกล่าวแสดงความยินดีและให้แนวทางการดำเนินการปลูกกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ โดยมีนายกรพจน์ อัศวินวิจิตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ คณะผู้บริหาร บุคลากร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายความมั่นคง ผู้แทนจากบริษัทไทยคอนยัค จำกัด และประชาชนทั่วไทยเข้าร่วมเป็นนำนวนมาก
“พิธีปลูกกัญชาต้นแรก” เป็นการดำเนินกิจกรรมสืบเนื่องจากการทำความร่วมมือระหว่าง กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกบุกและแปรรูปบุก เกษตรอินทรีย์บ้านทุ่งแพม ในการร่วมกันวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาและกัญชงเพื่อใช้ทางการแพทย์ จัดส่งผลผลิตให้กับกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกในการปรุงเป็นยาไทย 16 ตำรับ แจกจ่ายให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลในเครือข่ายทั่วประเทศ และเป็นแห่งแรกของไทยมีที่ดำเนินการและบริหารจัดการร่วมกับวิสาหกิจชุมชนอย่างเต็มรูปแบบ โดยทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สืบเนื่องจากการลงนามความร่วมมือกับกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา ให้สามารถปลูกกัญชาในพื้นที่จำเพาะในโรงเรือนเนื้อที่ 1,000 ตารางเมตร มีการบริหารจัดการแบบเกษตรอินทรีย์ Smart Organic Farming ดำเนินการปลูกกัญชารุ่นแรกจำนวน 320 ต้น และจะดำเนินการปลูกให้เต็มพื้นที่จำนวน 20,000 ต้นในอนาคต สำหรับสายพันธุ์กัญชาที่มหาวิทยาลัยฯมีในครอบครองนี้ได้มีการรวบรวมสายพันธุ์กัญชาพื้นบ้านจากภูมิภาคต่างๆ ผ่านกระบวนการนิรโทษกรรม เพื่อครอบคลองจำนวน 11 สายพันธุ์ และคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูง จำนวน 4 สายพันธุ์ มาปลูก ณ ศูนย์วิจัยฯ แห่งนี้ประกอบด้วย กัญชาสายพันธุ์เพชรบุรี ตะนาวศรี หางกระรอกด้ายแดง หางกระรอกอีสาน
ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา เปิดเผยว่า “พิธีปลูกกัญชาต้นแรกนี้ เป็นภาพสะท้อนความร่วมมือของมหาวิทยาลัยฯ กระทรวงสาธารณสุข สมาคมศิษย์เก่า มทร.ล้านนา และวิสาหกิจชุมชนบ้านทุ่งแพม ในการที่จะพัฒนาสายพันธุ์กัญชาที่มีประสิทธิภาพสูงในการนำไปใช้ปรุงยาไทย 16 ตำรับเพื่อสุขภาพและพลานามัยที่ดีของประชาชนชาวไทย โดยวันนี้เป็นโอกาสดีที่ได้เชิญผู้ทรงเกียรติจากหลายภาคส่วนให้ได้รับรู้ รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นในวันนี้และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังได้วางแผนร่วมกันไว้ว่าจะมีการนำวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ที่มีความพร้อมมาผลิตกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ร่วมกับทางมหาวิทยาลัยฯ โดยมีศูนย์วิจัยพัฒนาทางการแพทย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุ่งแพมเป็นต้นแบบ สำหรับมาตรการด้านการรักษาความปลอดภัยได้ดำเนินการตามข้อกำหนดของคณะกรรมการอาหารและยาอย่างเคร่งครัด พื้นที่ทั้งหมดมีระบบการรักษาความปลอดภัยสูง ผู้ที่เข้า-ออก จะต้องได้รับอนุญาตเท่านั้น ส่วนการลำเลียงขนส่งจะต้องแจ้งไปยังจังหวัดและตำรวจทางหลวงทุกครั้ง ซึ่งเป็นไปตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มั่นใจว่าจะไม่มีกัญชาผิดกฏหมายหลุดลอดออกไปได้อย่างแน่นอน”
สำหรับยาไทย 16 ตำรับที่มีกัญชาไปเป็นส่วนผสมในการปรุงยามีดังนี้
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถาบันวิจัยและพัฒนา โทร.053-921444 # 1011 หรือ กองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โทร.053-921444 # 0
10 มกราคม 2563
ผู้ชม 846 ครั้ง