26 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความ"สุภัทร" เผยแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการศึกษา ชง สพฐ.ต้องเปลี่ยนการประเมินโรงเรียนใหม่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะโอเน็ต

"สุภัทร" เผยแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการศึกษา ชง สพฐ.ต้องเปลี่ยนการประเมินโรงเรียนใหม่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะโอเน็ต

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวถึงการระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำ(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการศึกษาตามช่วงวัยเพื่อการมีงานทำ (พ.ศ.2563-2570)  ที่ โรงแรมคุ้มภูคำ จ.เชียงใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า แผนดังกล่าวจะนำไปสู่การปฏิบัติและสำเร็จได้หลายหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเปลี่ยน โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องเปลี่ยนค่อนข้างมาก  ส่วนการศึกษาอาชีวะและมหาวิทยาลัยก็ต้องเปลี่ยนเช่นเดียวกัน

 

 

ทั้งนี้ ดร.สุภัทร  ได้เสนอว่า สิ่งที่จะต้องเปลี่ยนคือ การประเมิน โรงเรียนจะต้องไม่เน้นในการประเมินเฉพาะวิชาการ เช่นการสอบโอเน็ตเพียงอย่างเดียว  แต่ควรจะมีการออกแบบในการประเมินที่นอกเหนือจากการวัดด้วยคะแนนโอเน็ตเพียงอย่างเดียวมาเป็นการประเมินที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้นและเป็นคะแนนให้กับผู้อำนวยการโรงเรียนด้วย

 

 

อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวจะนำไปสู่การปฏิบัติได้ต้องแก้ทั้งระบบ แต่เราต้องทำทางเลือกไว้ อาทิ วิธีการวัดแบบอื่น ๆ   เราต้องยอมรับว่า เด็กมีความเก่งต่างกัน เรารู้ว่า การส่งเสริมเด็กแบบนี้โรงเรียนต้องปรับการเรียนการสอนให้เด็กในกลุ่มนั้น ถามว่า โรงเรียนไหวหรือไม่ ถ้าไม่ไหวต้องหาพันธมิตรมาช่วย ซึ่งโรงเรียนจะต้องเปลี่ยน สพฐ.ก็ต้องเปลี่ยน ถ้าโรงเรียนจะทำเรื่องนี้ก็ต้องสร้างพันธมิตรเครือข่ายในพื้นที่ ผมเห็นว่า ในเชิงพื้นที่ จะใช้อาจารย์มหาวิทยาลัยมาช่วยเน้นเฉพาะทางมากขึ้น และเรายอมรับที่จะไม่ลงโทษผู้บริหาร ครู และโรงเรียนถ้าคะแนนโอเน็ตต่ำ  และถ้าโรงเรียน มีความความสามารถด้านอื่น สามารถที่จะเอามาคำนวณหากโรงเรียนนี้โอเน็ตต่ำไปหน่อย อยากให้โอเน็ตสูง แต่คุณไม่เคยช่วยเขาเลย แต่ถ้ามีกลุ่มที่ค่าคะแนน ตัววัดกลุ่มศิลปะและอื่น ๆ ดี คุณมาเฉลี่ย score ให้มันแฟร์ ๆ ดีกว่า นี่คือ ในแง่ของการประเมินครูกับผู้บริหาร

 

 

 

 

“สิ่งที่ผมอยากเห็นคือ เราสามารถประเมินความชอบและศักยภาพของเด็กได้  และมีวิธีการส่งเสริมตามศักยภาพของเด็ก ส่งเสริมอย่างไร นี่คือตัวที่จะไปสู่การมีงานทำ ซึ่งนั่นหมายถึงคุณต้องชอบที่จะทำงานนั้นด้วย  การมีความชอบที่จะทำงานกับการมีงานทำมันต่างกัน แม้จะได้เงินเหมือนกัน แต่สิ่งที่เรากำลังจะทำ คือ ความชอบที่จะทำงานตามศักยภาพที่คุณเก่ง แล้วจะทำให้ประเทศเรามีศักยภาพมนุษย์อย่างไรในการพัฒนา คนเรามันเปลี่ยนทักษะอาชีพได้ แต่มันต้องสอนให้เรียนรู้ตลอดเวลา แต่เราไม่ได้สอนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา ในสังคมไทยโดยส่วนใหญ่”เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าว

 

 

 

 

 

 

เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของแผนดังกล่าวว่า เราเน้นการนำแผนไปส่งเสริมศักยภาพเด็กตามช่วงวัยที่เหมาะสม และส่งเสริมให้เด็กทำงานได้ตามศักยภาพ ความถนัด ความชอบ แต่ไม่ได้หมายถึงต้องอยู่ตลอด เช่น ผมอยากเป็นสถาปัตยกรรม แต่ต้องเลิกตอนอายุ 40 ปี เพราะ มีปัญหาเกี่ยวกับสายตา  แต่โชคดีที่ผมนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการคำนวณ สิ่งนี้ทำให้วิศวกรจะยิ่งไม่มีราคาและเขาต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะซอฟแวร์มันเข้ามาทดแทนได้หมด แต่สถาปัตย์ก็คิดได้หมด ส่วน AI มันเอาแบบมารวม ๆ กัน ครูจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้วย

 

ยกตัวอย่าง ครูมีสองแบบที่จะเปลี่ยน คือ ให้ตลาดเป็นตัวนำ สุดท้ายถ้าคุณไม่ผลิตเด็กให้มีความสามารถที่หลากหลายก็จะไม่มีใครจ้างลูกศิษย์คุณ  สมัยผมเรียนวิศวะ เด็กจบแต่ละสถาบันการศึกษา แต่ละแห่งมีคาแรคเตอร์ที่ต่างกัน อาทิ  จบจุฬา-ออกแบบเก่ง สวย ,ม.ศิลปากร ออกแบบอาร์ต เน้นศิลปกรรม และวิศวะลาดกระบังออกแบบแข็ง แต่การันตี เรื่องโครงสร้าง ตลาดอยากจ้างใครก็จ้าง สมัยก่อนเป็นแบบนั้น คาแรคเตอร์ สามที่มันต่างกัน 

 

 

ทั้งนี้ ในระหว่างการเสนอความคิดเห็น ดร.อวยชัย ศรีตระกูล รองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)เชียงใหม่  เขต1 ได้ตั้งคำถามหลังจากที่มีการเสนอกรอบในการร่างแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการศึกษา ฯ ว่า  มันสวนทางการวัดผลการสอบโอเน็ตหรือไม่ ในขณะที่เราจะมาเน้นเรื่องอาชีพ แต่คะแนนโอเน็ตก็ต้องสูง  ประเด็นที่สอง เราใช้หลักสูตรแกนกลาง เราไม่เคยเอาเรื่องการทำงาน  skill การทำงานมาร่วมในการประเมินและการวัดผลเลย

 

   

 

 

ดร.อวยชัย กล่าวต่อไปว่า การศึกษาแต่ละช่วงวัยต้องการอะไร พูดแบบนี้มันกว้าง และหากจะทำ ต้องดูพื้นที่ skill เช่น ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งการท่องเที่ยวเป็นอันดับหนึ่งไม่ใช่การเกษตร ดังนั้น ต้องการ skill  ในเรื่องของการสื่อสาร ภาษา  ทำไมโรงเรียนไม่สอน เราไมได้จัดการศึกษาเชิงพื้นที่  ตรงนี้ผมอยากให้ชัดเจน และวัดออกมาได้ และควรออกมาเป็นนโยบายหลักสูตรจะเป็นอย่างไรและจะเน้นในเรื่องอะไร

    

" นโยบายออกมามันขัดแย้งตลอดเวลา บางทีเลยรู้สึกว่าทำ ๆ ไปเดี๋ยวมันก็ฝ่อไปเอง  งานนี้ผมอาสาทำให้  คนในพื้นที่ทำได้ เราควรให้ความสำคัญกับพื้นที่ นโยบาย ครูจะได้สอนได้ถูกต้องให้ความสำคัญกับ skill  มากพอ ๆ กับความรู้แล้วเด็กทำอะไรไม่เป็น " รองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)เชียงใหม่  เขต1 กล่าวในที่สุด

 

 

 

ดร.สุภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า  ผมสนับสนุนแนวความคิดของดร.อวยชัย  และผมกำลังทำงานร่วมกับ มศว ประสานมิตรเพื่อให้ออกแบบประเมิน เช่น วิชาด้านศิลปกรรม ดนตรี และวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อจะนำมาใช้เป็นรูปแบบในการประเมินให้กับโรงเรียน ถ้าเด็กชำนาญในกลุ่มศาสตร์ใดก็ไปส่งเสริมเขาในด้านนั้นได้ แต่ปัญหาคือประเทศเราไม่เคยทำ เราเรียนในห้องเรียน 55 %   อีก 45% โรงเรียนจะทำอะไรก็ได้ แต่เมื่อมีการวัดโอเน็ต  อีก 45%  ก็มาสอนเพิ่มเพื่อสอบโอเน็ต ส่วนการวัดแต่ละช่วงวัยในระบบการศึกษา เด็กวัย 12 ปี  ควรจะมีสมรรถนะอย่างไร เด็กอายุ 15 ปี ควรจะมีสมรรถนะประมาณไหน ถ้าเป็นพื้นฐานอาจจะไปปรับได้ตามที่เขาอยากจะสอน  แต่พอเป็นระบบการศึกษามีข้อกำจัด เพราะเราจะวัดความรู้เป็นหลัก

 

 

ดร.สุภัทร ย้ำ ว่า การจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับช่วงวัยและเหมาะกับพื้นที่ เพราะ ทรัพยากรพื้นที่ไม่เหมือนกัน ถ้าพื้นที่คุณมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภาษาต้องมาก่อน อย่างอื่นค่อยตามมา แต่ตอนนี้ มันก็เริ่มทดแทนได้ด้วย AI แล้ว แต่ถ้าคุณจะทำให้เกิดการได้เปรียบ ต้องทำให้เร็วกว่า AI เข้าใจได้มากกว่า AI การเปลี่ยนแปลงอย่างเร็วของอาชีพ ตรงนี้เรายังไม่ได้พูดถึง  คนที่จะบอกว่า ความต้องการแรงงานเท่าไหร่ ด้านไหนบ้าง แหล่งข้อมูลตรงนี้ยังไม่มีคนรวบรวม มีแต่ตัวเลขกลม ๆ แต่ตอนนี้ไม่มีเจ้าภาพ เมื่อเรามีตัวเลข เราจะรู้ว่า จำนวนเด็กที่เข้าสู่ตลาดแรงงานเท่าไหร่ และเหลืออีกจำนวนเท่าไหร่  ส่วนที่ไม่ได้เข้าตลาดแรงงาน เราจะสร้างเด็กให้เป็นเจ้าของธุรกิจ

 

 

ปัญหาที่ต้องคิดต่อคือ  เด็กเกิดน้อยลงเรื่อย ๆ ปี 2561   อัตราเด็กเกิด 6.4 แสนคน  ภายใน 5 ปี เด็กเกิดน้อยลง  20% ปี 2535-2545 ใช้เวลา 10 ปี อัตราการเกิดลดลง 20% แต่นี่ใช้เวลาเพียง 5 ปี  จาก 8 แสน ต่อจากนี้ปี 2562 ลงไปเท่าไหร่

 

อบจ.ลงทุนตั้งโรงเรียนที่จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2554 และเริ่มรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปี 2555   คะแนน PISA สูงกว่าค่าเฉลี่ย OECD ระดับโลก สิ่งที่ผมจะบอกคือ ถ้าคุณลงสิ่งอำนวยความสะดวก (facility) และมีประสิทธิภาพในการทำงาน  การจ้างครู ถ้าทำได้ตาม process ที่วางไว้ เด็กไทยไม่โง่ เพราะโรงเรียนที่ อบจ. กระบี่ ลงทุนทำเห็นผลมาแล้วเด็กไทยไม่โง่ ถ้าคุณลงทุนทุกอย่างครบ

 

 

ช่วงปฐมวัย เราอยากให้ รับรู้เรื่องอาชีพ อยากให้รู้ว่าชอบอะไร เช่น ถ้าเขาชอบคหกรรม เขาเอาไปใช้ประโยชน์ในบ้าน หรือเขาอาจจะทำขายได้ เรื่องที่สอง เขาจัดอาร์ตแกลเลอรีแล้ว เอานักท่องเที่ยวมาซื้อ แต่รู้ว่าเด็กคนไหน ชอบและมีฝีมือและเอาครูที่ไหนมาสอน  ผมไม่คิดว่าโรงเรียนจะพร้อม เขาต้องมีการหาพาร์ทเนอร์มาช่วย หาคนมาช่วยโค้ดเด็กอย่างไร

 

 

 

 

ในปี 2563 ร่างแผนฯ ต้องเสร็จ อาจจะมีประชาพิจารณ์ ในกลางปี น่าจะมีร่างที่เป็น  final  ผมคิดว่า เราต้องมีเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลง สิ่งแรกเปิดประสิทธิภาพการวัดเด็กให้ครบทุกด้าน สองสามารถจะจัดให้กับกลุ่มที่มีความสามารถ ได้อย่างไร และครูพร้อมจะปรับเปลี่ยนหรือไม่ เหมือนสมัยผมเป็นเด็กครูต้องไปหาตำราทฤษฏีศิลปะมาสอนผม หาเครือข่ายพันธมิตรว่าจะหาความรู้ได้จากไหน เช่น ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนไม่มีห้องแลปจะไปขอห้องแลปที่ไหน เช่น มหาวิทยาลัย แต่คงไม่สามารถไปใช้ได้ตลอดเพราะมหาวิทยาลัยก็ต้องใช้ และมีค่าใช้จ่าย ดังนั้น หน่วยงานรัฐ ต้องจัดหางบประมาณ ในส่วนนี้ไว้

 

"อย่างไรก็ตาม เราพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ที่จะส่งเสริมโรงเรียนประเภทนี้  ต้องวัดคุณภาพด้วยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น ไม่เพียงแต่โอเน็ตเท่านั้น  จะวัดความเก่งจากข้อสอบอย่างเดียวคงลำบาก  ระบบของ สพฐ.ต้องเปลี่ยนค่อนข้างมาก ถ้าจะเน้นการมีงานทำ แต่เราไม่ได้หมายถึงจะเปลี่ยนให้เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด ถ้าเขาจะเน้นเป็นโรงเรียนที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์อย่างเดียว เช่น อบจ.กระบี่ ก็ปล่อยเขาไป เปิดกว้างให้โรงเรียนเดินได้หลายทาง และต้องมีวิธีการประเมินที่เหมาะสมกับผู้เรียนด้วย เพื่อให้เป็นผลงานของครู  ส่วนอาชีวะก็ต้องเปลี่ยนและ กศน. ต้องหาผู้เรียน อายุ 15 ปีขึ้นไป การเรียนการสอนก็จะเหมาะกับสภาพการพัฒนาการทางกายภาพ จะไม่วัดแบบเดียวกับ สพฐ. เพราะ มันคนละแบบ วัดจากกิจกรรม มีพัฒนาการ ส่วนภาคอุตสาหกรรมจะต้องเปลี่ยนด้วยและมหาวิทยาลัยต้องปรับตัว อาชีพและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีอะไรบ้าง ต้องแม่นยำ" เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวในที่สุด 

 

 

 

ด้าน ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า เด็กตอบไม่ได้ว่าไม่รู้ว่าเมื่อโตขึ้นตัวเองจะมีอาชีพอะไร  ส่วนพ่อแม่ก็ไม่อยากจะให้ลูกมามีอาชีพแบบตัวเอง อยากให้รับราชการ ไม่อยากให้เหนื่อย จุดนี้คิดว่ามีประโยชน์ เรื่องที่จะให้เด็กมีอาชีพ เราตั้งข้อสังเกตในเอกสาร แนวนอน ร่างแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน ด้านการศึกษาตามช่วงวัยเพื่อการมีงานทำ เป็นการสะกัดมาจากแผนชาติ แผนแม่บทดึงเฉพาะในส่วนเรื่องของการมีงานทำ ชมฝ่ายการศึกษา แต่อยากตั้งข้อสังเกต เรื่องกำลังคนในทุกช่วงวัย ตั้งแต่แรกเกิดถึงผู้สูงอายุ (คนดี)

 

 

 

ส่วน ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวในมิติด้านเศรษฐกิจว่า   มีผู้สูงอายุที่ยากจนไม่มีรายได้ พึ่งตัวเองไมได้ อีกกลุ่มเป็นผู้สูงอายุที่ยังมีเรี่ยวแรง ยังต้องทำงาน และอีกกลุ่มคือ มีเงินบำนาญ ในเรื่องเศรษฐกิจมีสามมิติ ที่ต้องทำความเข้าใจ คือ ด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุยังแข็งแรง และยังมีผู้สูงอายุที่มีอาการเจ็บป่วย และกลุ่มติดเตียงอีกด้วย

 

#สกศ

#สมัครด่วน

#ช่วงวัยเพื่อการมีงานทำ

#พัฒนากำลังคน

 

 

02 กุมภาพันธ์ 2563

ผู้ชม 814 ครั้ง

Engine by shopup.com