วันที่ 28 เมษายน 2565 Times Higher Education (THE) สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกจากประเทศอังกฤษ ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย THE Impact Rankings 2022 หรือมหาวิทยาลัยที่ดำเนินพันธกิจเพื่อสังคมและชุมชน ที่วัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยทั่วโลกในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ผ่านการประเมินตัวชี้วัดโดยแบ่งเป็น 4 ขอบเขตหลัก คือ ได้แก่ 1) งานวิจัย 2) นโยบายและแนวทางปฏิบัติภายในมหาวิทยาลัย 3) การเชื่อมโยงกับสังคมไทยและสังคมโลก และ 4) การเรียนการสอน โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยพะเยา ได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 301-400 จากทั้งหมด 1,406 สถาบันทั่วโลก และ อยู่ในอันดับที่ 10 ของประเทศไทย มหาวิทยาลัยพะเยาได้ส่งเข้าร่วมทั้งหมด 8 ด้านจากทั้งหมด 17 ด้าน ได้แก่ SDG3 : สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี อันดับที่ 6 ของประเทศไทย (อันดับที่ 201-300 ของโลก) SDG5 :ความเท่าเทียมทางเพศ อันดับที่ 5 ของประเทศไทย (อันดับที่ 82 ของโลก) SDG4 : การศึกษาที่มีคุณภาพ อันดับที่ 8 ของประเทศไทย (อันดับที่ 101-200 ของโลก) SDG9 : โครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมและอุตสาหกรรม อันดับที่ 8 ของประเทศไทย (อันดับที่ 401-600 ของโลก) SDG11 : เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน อันดับที่ 5 ของประเทศไทย (อันดับที่ 101-200 ของโลก) SDG15 : ระบบนิเวศทางบก อันดับที่ 10 ของประเทศไทย (อันดับที่ 101-200 ของโลก) SDG16 : ความสงบสุข ยุติธรรมและและสถาบันเข้มแข็ง อันดับที่ 13 ของประเทศไทย (อันดับที่ 401-600 ของโลก) SDG17 : ความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อันดับที่ 18 ของประเทศไทย (อันดับที่ 601-800 ของโลก) อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.timeshighereducation.com ซึ่ง 3 อันดับแรกที่มหาวิทยาลัยได้รับคะแนนการประเมินสูงสุดคือ SDG11: เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน ได้รับคะแนนการประเมิน 75.9 คะแนน ซึ่งสอดคล้องกับการกำหนดเป้าหมายสำหรับการเดินทางที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัย การให้บริการห้องสมุดสาธารณะแก่บุคคลภายนอก การจัดแสดงนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ ต่างๆของมหาวิทยาลัยที่ให้บุคคลภายนอกได้เข้าเยี่ยมชม ตลอดจนมีความร่วมมือในการวางแผน การแก้ไขปัญหาในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น SDG4: ความเท่าเทียมทางการศึกษา ได้รับคะแนนการประเมิน 73.1 คะแนน มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นสนับสนุนและส่งเสริม ให้มีหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน (Community Track) เพิ่มการผลิตและกระจาย แพทย์ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือและประเทศไทย SDG5: ความเท่าเทียมทางเพศ ได้รับคะแนนการประเมิน 67.6 คะแนน ที่เป็นไปตามแนวปฏิบัติและนโยบายส่งเสริมเพศหญิง นโยบายส่งเสริมเพศทางเลือก รวมถึงนโยบายส่งเสริมครอบครัว สนับสนุนให้เกิดสถานรับเลี้ยงเด็กในมหาวิทยาลัย เพื่ออำนวยความสะดวกต่อนิสิตหรือบุคลากรที่มีบุตร และยังมีศูนย์ให้คำปรึกษาแก่นิสิตและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เข้าปีที่ 12 ของ ม.พะเยา สู่การเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 10 ของประเทศไทย และยังคงมุ่งปฏิบัติงานตามวิสัยทัศน์ "มหาวิทยาลัยสร้างปัญญา เพื่อนวัตกรรมชุมชน สู่สากล" ที่ผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน วิจัยและนวัตกรรม รักษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับองค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อชี้นำ และสร้างสรรค์ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งและความยั่งยืนของชุมชน และสังคม บริหารจัดการด้วยหลัก ธรรมาภิบาล มีระบบประกันคุณภาพ ประเมินและตรวจสอบได้ในทุกพันธกิจ โดยมีเป้าหมายในการบรรลุวิสัยทัศน์ภายในปี พ.ศ. 2567 สามารถติดตามข่าวสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยพะเยาเพิ่มเติมได้ที่ http://uprankings.up.ac.th/
28 เมษายน 2565
ผู้ชม 240 ครั้ง