26 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความกระทรวงแรงงานเตือนภัย นายหน้าเถื่อนใช้โซเชียล หลอกทำงานผิดกฎหมายใน UAE

กระทรวงแรงงานเตือนภัย นายหน้าเถื่อนใช้โซเชียล หลอกทำงานผิดกฎหมายใน UAE

หมวดหมู่: แรงงาน

          กระทรวงแรงงาน เตือนนายหน้าเถื่อนระบาดโซเชียล หลอกคนไทยใช้วีซ่าท่องเที่ยว เดินทางเข้า UAE ทำงานผิดกฎหมาย

 

 

          นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยว่า ได้รับรายงานจากฝ่ายแรงงานประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ว่ามีผู้เสียหายจากกรณีถูกสาย-นายหน้าเถื่อน โฆษณาชักชวนไปทำงานในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางสื่อออนไลน์ ผ่านเพจ Facebook ชักชวนผ่านการแชท เพื่อให้ไปทำงานในตำแหน่งนวดสปา นวดแอบแฝงค้าบริการ โดยอ้างว่ามีรายได้ดี ค่าจ้างเดือนละ 50,000 - 100,000 บาท และจะเป็นผู้จัดการเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทาง พร้อมทั้งจะออกค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าวีซ่าท่องเที่ยว ค่าหนังสือเดินทาง และค่าที่พัก ให้ก่อน เมื่อผู้เสียคนหายหลงเชื่อ ตกลงเดินทาง สาย-นายหน้าเถื่อนจะเป็นคนจัดการเรื่องการเดินทาง ให้ลบข้อความแชทเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ เมื่อเดินทางไปถึงจะถูกให้เซ็นสัญญาการรับสภาพหนี้ และพาไปทำงานอื่นที่ไม่ได้ตกลงไว้ อาทิ งานในร้านนวดที่มีการลักลอบขายบริการทางเพศ งานด้านการพนันออนไลน์ ระหว่างนี้จะยึดหนังสือเดินทางไว้เพื่อไม่ให้เหยื่อหนี ซึ่งการโฆษณารับสมัครงานดังกล่าว เป็นโฆษณาชักชวนคนไทยให้เดินทางเข้ามาทำงานในธุรกิจที่ผิดกฎหมาย มีหญิงไทยตกเป็นเหยื่อถูกบังคับค้าประเวณี และขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐเป็นจำนวนมาก

          “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยคนไทยที่ถูกหลอกไปทำงานประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างยิ่ง โดยเน้นย้ำมาตลอดว่าแต่ละประเทศมีกฎหมาย ไปทำงานประเทศใดต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายประเทศนั้นอย่างเคร่งครัด กรณีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้น มีกฎหมายที่เข้มงวดและรุนแรง ซึ่งการค้าประเวณีถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย มีโทษทั้งจำทั้งปรับหรือตามที่ศาลพิจารณาและจะถูกเนรเทศ ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไม่เคยนิ่งนอนใจได้สั่งการกรมการจัดหางานเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบการลักลอบเดินทาง และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับคนหางานในพื้นที่ที่รับผิดชอบอย่างใกล้ชิด เพื่อให้รู้ทันเล่ห์กลของสาย-นายหน้าเถื่อน สามารถช่วยสอดส่องผู้มีพฤติการณ์น่าสงสัยที่เข้ามาหลอกลวงคนในชุมชน และแจ้งเบาะแสต่อเจ้าหน้าที่ได้” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

           ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ขอให้คนไทยที่กำลังหางานในต่างประเทศ ทำความเข้าใจว่าหากสาย-นายหน้ามีพฤติการณ์ชักชวนให้ทำงานผิดกฎหมาย แนะนำให้ลักลอบเข้าประเทศ หรือไปทำงานต่างประเทศโดยไม่แจ้งการทำงานต่างประเทศกับกรมการจัดหางาน ให้สันนิษฐานเป็นลำดับแรกว่าท่านกำลังถูกหลอกลวง โปรดอย่าหลงเชื่อ สำหรับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะมีการตรวจสอบการเดินทางของนักท่องเที่ยวคนไทย โดยให้แสดงเอกสารหลักฐาน เช่น ตั๋วเครื่องบินขากลับ การจองที่พักในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ UAE มีความเข้มงวดอย่างมากในการจับกุมผู้ใช้วีซ่าผิดประเภทเพื่อลักลอบทำงานผิดกฎหมาย และผู้ถือวีซ่าหมดอายุ โดยกรณีผู้ที่เดินทางเข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว หรือวีซ่าเยี่ยมเยือน และลักลอบทำงานมีโทษปรับ 50,000 ดีแรห์ม หากกระทำผิดซ้ำจะถูกปรับสองเท่า และถูกเนรเทศ หากไม่มีเงินค่าปรับ ต้องจำคุกแทนค่าปรับวันละ 100 ดีแรห์ม กรณีอยู่เกินวีซ่า (Overstay) จะโดนปรับวันแรก 200 ดีแรห์ม และวันต่อไปวันละ 100 ดีแรห์ม และค่าธรรมเนียมอีก 100 ดีแรห์ม (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 28 กันยายน 2565 : 1 ดีแรห์ม เท่ากับ 10.44 บาท) นอกจากนี้การค้าประเวณีในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีโทษจำคุกอย่างน้อย 2 เดือน ถูกปรับหรือตามที่ศาลพิจารณาและถูกเนรเทศ

          “ การลักลอบไปทำงาน อย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เสี่ยงต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง การไม่ได้เงินเดือนและไม่ได้ทำงานตามข้อตกลง โดยเฉพาะใน UAE ที่หน่วยงานภาครัฐไม่มีอำนาจในการให้ความช่วยเหลือในเคหสถาน ต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้รับแจ้งความและให้ความช่วยเหลือเท่านั้น ซึ่งทำให้ผู้ร้องทุกข์ส่วนใหญ่ไม่ต้องการแจ้งความเพราะเกรงว่าจะถูกจับกุม เนื่องจากเดินทางเข้ามาโดยวีซ่าท่องเที่ยวและลักลอบทำงาน อย่างไรก็ตาม หากถูกกักขัง ทำร้ายร่างกาย หรือเกรงว่าจะเกิดอันตรายแก่ตนเอง ขอให้แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยทันที หรือขอความช่วยเหลือโดยกดหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน (999) หรือ Facebook ตำรวจดูไบ Dubai Police” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว

11 ตุลาคม 2565

ผู้ชม 214 ครั้ง

Engine by shopup.com