27 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความมมส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการบรรพชีวินนานาชาติ ครั้งที่ 6 (The 6th International Palaeontological Congress, IPC6)

มมส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการบรรพชีวินนานาชาติ ครั้งที่ 6 (The 6th International Palaeontological Congress, IPC6)

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม(มมส) เป็นเจ้าภาพจัดโครงการประชุมวิชาการด้านบรรพชีวินระดับนานาชาติ ครั้งที่ 6 (The 6th International Palaeontological Congress, IPC6) โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ,รองศาสตราจารย์ ดร. ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ,Professor Dr. Renbin Zhan Secretary General, International Palaeontological Association นำนักวิจัยและอาจารย์ชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมออร์คิด บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออร์คิด จังหวัดขอนแก่น

 

 

 



โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิต และนักศึกษา ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยด้านบรรพชีวิมีนวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้อง เป็นการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และการพัฒนาวิชาการทางด้านบรรพชีวินวิทยาระดับนานาชาติ ตลอดจนสร้างเครือข่ายและการพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย ด้านบรรพชีวินวิทยา

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การประชุม The6th IPC เป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยที่จะเป็นเวทีให้นักบรรพชีวินจากทั่วทุกมุมโลกมากกว่า 400 ท่าน มานำเสนอผลงาน ความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ทางด้านบรรพชีวิน ซึ่งองค์ความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ที่เราได้รับจากการประชุมวิชาการในครั้งนี้ เราสามารถนำมาใช้คาดการณ์ถึงสภาพแวดล้อมที่จะมีผลกระทบต่อมนุษย์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเทียบเคียงกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกไว้ในสมุดบันทึกโลก กระตุ้นเตือนให้มีการตื่นตัวของนักวิชาการในการสำรวจศึกษาวิจัยด้านบรรพชีวินวิทยาของประเทศ ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ด้านบรรพชีวิน ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณชน สร้างความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ สนับสนุนทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วย

 

 


 


ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล กล่าวว่า งานประชุมวิชาการด้านบรรพชีวินระดับนานาชาติ ครั้งที่ 6 ที่จัดขึ้นในปีนี้ สมาคมบรรพชีวินวิทยานานาชาติ (International Palaeontological Association, IPA) เห็นชอบให้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน ระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งประเทศไทยของเรามีความพร้อมสำหรับรองรับนักบรรพชีวินทั่วโลก ในภาคการประชุมวิชาการ ณ จังหวัดขอนแก่น พร้อมกับการทัศนศึกษาภาคสนาม ณ พื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ

 

 

 



ภายในงาน จัดบรรยายพิเศษจากสมาคมบรรพชีวินวิทยานานาชาติ โดย Prof. Dr. David Harper เรื่อง “The big three extinctions: Lessons from deep time”, Dr. Eric Buffetaut เรื่อง “Two hundred years of palaeontology: Henri Marie Ducrotay de Blainville and the science of ancient beings”, Prof. Dr. Clive Burrett เรื่อง “Progress in the geology and palaeontology of Thailand”, Prof. Dr. Renbin Zhan เรื่อง “Palaeontology in the 21st century: Contributions from China” และการจัดนิทรรศการอุทยานธรณี ซากดึกดำบรรพ์ และผลิตภัณฑ์ชุมชน

10 พฤศจิกายน 2565

ผู้ชม 350 ครั้ง

Engine by shopup.com