19 เมษายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความตรีนุช นั่งหัวโต๊ะถกความเห็น ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาชาติ ชี้ต้องอัปเดตให้ทันโลก มุ่งประโยชน์กับคนรุ่นใหม่

ตรีนุช นั่งหัวโต๊ะถกความเห็น ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาชาติ ชี้ต้องอัปเดตให้ทันโลก มุ่งประโยชน์กับคนรุ่นใหม่

หมวดหมู่: การศึกษา

 

เมื่อเร็ว ๆ นี้  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็น “ร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... (ฉบับที่คณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ พิจารณา)” โดยมี เลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ) รองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.สวัสดิ์ ภู่ทอง) รองเลขาธิการสภาการศึกษา (นายธนู ขวัญเดช) ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมอภิปราย ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร อาคาร ๕๖ ปี ชั้น ๓ สกศ.

 

 

 

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ สกศ. เชิญผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนมาร่วมแชร์เสียงสะท้อนต่อร่าง พ.ร.บ. ซึ่งขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ ซึ่งยังมีประเด็นสำคัญที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมประกอบการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาเพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาลงมติต่อไปในวาระที่ ๒ โดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ความสำคัญในการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ฯ ให้มีเนื้อหาทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่ และสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดคนทุกกลุ่ม เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ช่วยกำหนดทิศทางในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ และยกระดับคุณภาพการศึกษาของไทยสู่ระดับนานาชาติได้อย่างแท้จริง

 

 

ด้าน ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ทางการศึกษา มีความเห็นในทิศทางเดียวกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ และเห็นชอบในหลักการให้อิสระแก่สถานศึกษา แต่ควรเตรียมระบบสนับสนุนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กหรือการขอความช่วยเหลืออื่น ๆ ในระยะเริ่มต้น

 

“ที่ประชุมมีความเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว มีหลักการที่ดีในการกระจายอำนาจการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ แต่ยังมีข้อกังวลที่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานหรือองค์กรที่มีอยู่เดิม จึงอาจต้องมีการระบุคำนิยามให้ชัดเจนและปรับแก้รายละเอียดให้ครอบคลุม เพื่อให้ธรรมนูญการศึกษาของชาตินี้เป็นที่ยอมรับ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนและทุกฝ่าย โดย สกศ. จะรวบรวมข้อเสนอในวันนี้ไปประกอบการหารือกับคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๕” ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ กล่าว

 

เวทีอภิปรายความคิดเห็นในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นายโกวิท คูพะเนียด ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว และสมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมหารือและเสนอความเห็นในหลายประเด็น ดังนี้

 

 

๑) การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นเรื่องด่วนที่ต้องแก้ไข แต่ต้องแก้ไขแบบไม่ตัดเสื้อโหล เช่น การบริหารงบประมาณให้กับสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนแตกต่างกัน ควรเลิกใช้แนวทางความเท่าเทียมแบบเหมารวม (Equality) ที่เน้นความเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และควรใช้ความเสมอภาค (Equity) ที่ความเป็นธรรมโดยรับฟังเสียงผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

๒) ประเด็นที่หลายฝ่ายกังวลคือ มาตรา ๓ การยกเลิกคำสั่ง คสช.ที่ ๑๙/๒๕๖๐ ว่าจะมีการยกเลิกศึกษาธิการจังหวัดหรือไม่ หรือมาตรา ๔ เรื่องคำจำกัดความที่ไม่ได้ระบุกลุ่มบุคลากรทางการศึกษาอื่นหรือศึกษานิเทศก์ รวมถึงมาตราอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารของ ศธ. นั้น ควรมีการแก้ไขรายละเอียดให้มีความชัดเจน และครอบคลุมทุกฝ่าย ก่อนที่ร่าง พ.ร.บ. นี้จะประกาศใช้เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติงาน

๓) แนวทางดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการจะต้องสอดคล้องกับการที่ร่าง พ.ร.บ.ฯ มุ่งให้อิสระแก่สถานศึกษา โดยบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ (Mindset) ว่า รัฐไม่ได้เป็นผู้จัดการศึกษาทั้งหมด แต่ต้องเปิดโอกาสให้เอกชน ท้องถิ่น ครอบครัว เข้ามาช่วยจัดการศึกษามากขึ้น ภาครัฐจะต้องเปิดพื้นที่และบูรณาการงานเพื่อสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้เกิดขึ้นจริงให้ได้

๔) การประเมินผลการดำเนินการตามแผนการศึกษาแห่งชาติไม่ควรเป็นภาระแก่สถานศึกษา โดยอาจใช้ระบบการประเมินแบบใหม่ เช่น ระบบ ERP (Enterprise resource planning) หรือระบบการประเมินแบบอื่นที่สามารถแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์และปัญหาอุปสรรคที่แท้จริงได้

05 ธันวาคม 2565

ผู้ชม 359 ครั้ง

Engine by shopup.com