26 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความ‘ปลัดแรงงาน’ ประชุมระดับสูงด้านแรงงาน ไทย - อียู มุ่งคุ้มครองยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมในภูมิภาค

‘ปลัดแรงงาน’ ประชุมระดับสูงด้านแรงงาน ไทย - อียู มุ่งคุ้มครองยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมในภูมิภาค

หมวดหมู่: แรงงาน

 

          เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมร่วมกับ นายจูสต์ คอร์เธ่ ปลัดกระทรวงการจ้างงาน กิจการสังคม และการหลอมรวมทางสังคมคณะกรรมาธิการยุโรป ร่วมเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมระดับสูงด้านแรงงานระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ครั้งที่ 3 โดยมี นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และนางสาวกาญจนา พูลแก้ว รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ร่วมนำเสนอและตอบข้อซักถามในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้วย ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

 

 

          นายบุญชอบ เปิดเผยว่า การประชุมระดับสูงด้านแรงงาน จัดขึ้นภายใต้ ข้อตกลงการบริหารจัดการสำหรับการประชุมหารือด้านแรงงาน (Labour Dialogue) ระหว่าง กระทรวงแรงงานแห่งราชอาณาจักรไทย และ กระทรวงการจ้างงาน กิจการสังคม และการหลอมรวมทางสังคมแห่งคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งริเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2561 โดยสหภาพยุโรปเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับสูงฯ ครั้งที่ 3 ในรอบ 3 ปี ภายหลังประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับสูงฯ ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2563 โดยสหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับประเด็นด้านแรงงาน โดยเฉพาะการเคารพหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ การขจัดแรงงานบังคับและแรงงานเด็ก สิทธิมนุษยชน การยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติ และแรงงานในภาคประมง

 

 

           ปลัดกระทรวงแรงงาน ยังได้ร่วมนำเสนอพัฒนาการด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น มาตรการรับมือกับโควิด - 19 การกระจายวัคซีน ให้บริการรักษา Hospitel และโครงการ Factory Sandbox ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในรอบ 30 ปี นอกจากนั้น รัฐบาลยังมีมาตรการเพื่อคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ เช่น การขยายอายุวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน การเข้าถึงวัคซีนและการรักษาอย่างเท่าเทียม รวมถึงกล่าวถึงผลการเป็นเจ้าภาพ APEC และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2566 ซึ่งอนุญาตให้ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านได้ โดยได้รับความคุ้มครองอย่างครบถ้วน นอกจากนั้น การประชุมระดับสูงด้านแรงงาน ครั้งที่ 3 ที่ประชุมยังได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นด้านแรงงานต่างๆ ที่มีความสนใจร่วมกัน เช่น การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมรองรับเทคโนโลยีดิจิทัลและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจนอกระบบ เสรีภาพในการสมาคม และการฝึกงานอีกด้วย

 



           ด้าน นางแอนดริอาน่า สุโคว่า รองปลัดกระทรวงการจ้างงาน กิจการสังคม และการหลอมรวมทางสังคม คณะกรรมาธิการยุโรป ได้นำเสนอพัฒนาการด้านเศรษฐกิจและสังคมของสหภาพยุโรปที่น่าสนใจ เช่น การสนับสนุนเพื่อลดความเสี่ยงที่จะตกงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน พัฒนาการด้านค่าจ้างขั้นต่ำและรายได้ขั้นต่ำที่เพียงพอ รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับงานแพลตฟอร์ม กรอบเพื่อการฝึกงานที่มีคุณภาพ เศรษฐกิจเพื่อสังคม การทำงานทางไกล (Telework) และสิทธิในการที่จะตัดขาดการติดต่อ (right to disconnect)

27 เมษายน 2566

ผู้ชม 259 ครั้ง

Engine by shopup.com