17 พฤษภาคม 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความม.นครพนม จับมือ กสทช. และภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ กำกับติดตามการดำเนินงานสื่อ ประจำจังหวัดนครพนม

ม.นครพนม จับมือ กสทช. และภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ กำกับติดตามการดำเนินงานสื่อ ประจำจังหวัดนครพนม

 

 

 

 

 

วันที่ 12 ธันวาคม 2566 เวลา 09.30 น. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม เปิดศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดนครพนม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเฝ้าระวังและผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ จังหวัดนครพนม โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขจิต ณ กาฬสินธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม เป็นประธานเปิดงาน มีนางสาวสุภัทรชรี บุญประชุม หัวหน้าศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดนครพนม กล่าวรายงาน และ ดร.ดารณี เกตุชมภู รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวต้อนรับ

ศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดนครพนม เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานหลายภาคส่วน ได้แก่ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม, บ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดนครพนม, ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครพนม, ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม, โรงเรียนในเครือข่าย เช่น โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย โรงเรียนนครพนมวิทยาคม โรงเรียนธาตุพนม และเครือข่ายภาคประชาชน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ สร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ในจังหวัดนครพนม รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะและพัฒนาศักยภาพในการรู้เท่าทันสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ให้กับกลุ่มเป้าหมายทั้งเด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไป และกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดนครพนม ตลอดจนการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคสื่อวิทยุและโทรทัศน์

 

 

 

 



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขจิต ณ กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ยังคงเป็นสื่อที่มีอิทธิพลสามารถส่งผลกระทบด้านพฤติกรรม ความคิด และการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคม ทั้งทางบวกและทางลบ หากสื่อไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และหากผู้บริโภคสื่อไม่มีพลังพอที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สื่อทั้งระดับชุมชน ภูมิภาค และประเทศ ให้มีความเป็นสื่อมืออาชีพที่เสนอเนื้อหาด้วยความเป็นจริง มีคุณภาพ ปราศจากอคติ ไม่หลอกลวงผู้บริโภค พลังผู้บริโภคสื่อสามารถกำกับดูแลสื่อให้มีคุณภาพได้ และสร้างกลไกกำกับดูแลสื่ออย่างได้ผล การสร้างเครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการกำกับดูแลสื่อที่มีพลังมหาศาล เป็นช่องทางที่จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วม มีการติดต่อสื่อสารและการสนับสนุน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคถูกละเมิดหรือถูกเอาเปรียบ

ด้าน นางสาวสุภัทรชรี บุญประชุม กล่าวว่า การประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ แม้จะมีหน่วยงานกำกับดูแลหรือมีกฎหมายกำหนดไว้ แต่ในปัจจุบันยังพบว่าการดำเนินงานของสื่อหรือผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ยังมีการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การโฆษณาสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ที่หลอกลวง เกินจริง ไม่ครบถ้วน จนทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อนำไปสู่การซื้อ-ใช้ สินค้า หรือบริการนั้น ๆ หรือการโฆษณาแฝงในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะบทความเชิงโฆษณาที่ครอบงำความคิดของผู้บริโภคของประชาชน การละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการนำเสนอข่าวอาชญากรรม การละเมิดสิทธิสตรี เด็ก และเยาวชน จากการนำเสนอเนื้อหาละครข่าวสารด้วยความรุนแรง ใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม หยาบคาย หรือลามกอนาจาร ขณะเดียวกันกลุ่มผู้บริโภคสื่อเองยังขาดความรู้และความเข้าใจในการทำงานของสื่อที่ถูกต้องเหมาะสมตามกรอบของจริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังขาดความตื่นตัวในการปกป้องสิทธิของตนเอง จึงทำให้ถูกละเมิดสิทธิจากสื่อทั้งโดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว

 

 

 

 



การส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ จึงนับเป็นกลไกทางสังคมที่จะช่วยสร้างให้เกิดกระบวนการของการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง โดยการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง และรู้จักสิทธิในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ โดยเริ่มตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการติดตาม เฝ้าระวัง การสื่อสารความรู้ที่จะช่วยให้สังคมเกิดความตื่นตัว รับรู้ เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิของตนเองในฐานะผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ การสะท้อนความคิดเห็น รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ และแจ้งเรื่องร้องเรียนเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบ

 

 

 

 



ซึ่งศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดนครพนม จะทำหน้าที่สะท้อนบทบาทและหน้าที่ของสื่อ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสื่อโดยตรง รวมถึงการส่งเสริมทักษะและพัฒนาศักยภาพในการรู้เท่าทันสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ให้กับกลุ่มเป้าหมายทั้งเด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไป และกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดนครพนม ตลอดจนเป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคสื่อวิทยุและโทรทัศน์ด้วย

 

 

 



ทั้งนี้ มีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเครือข่ายโรงเรียน และเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมพิธีเปิด พร้อมเยี่ยมชมศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดนครพนม ณ บริเวณ ชั้น 1 คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม (เขตพื้นที่มรุกขนคร)

15 ธันวาคม 2566

ผู้ชม 175 ครั้ง

Engine by shopup.com