16 พฤษภาคม 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ม.นครพนม สร้างความตระหนักรู้สิทธิผู้บริโภคสื่อแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่ จ.นครพนม

ศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ม.นครพนม สร้างความตระหนักรู้สิทธิผู้บริโภคสื่อแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่ จ.นครพนม

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 

ศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดนครพนม จัดกิจกรรมสร้างเสริมความตระหนักรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สิทธิผู้บริโภคในสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ สำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดนครพนม เพื่อให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงสิทธิในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะการเฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ โดยมี นายชยพัทธ์ มะแม้น ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เขต 25 จังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดงาน มี อาจารย์สุภัทรชรี บุญประชุม อาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม หัวหน้าศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดนครพนม กล่าวรายงาน ณ อาคารเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยนครพนม (เขตพื้นที่ดิจิทัล)

 

นายชยพัทธ์ มะแม้น ผู้อำนวยการ กสทช. เขต 25 จังหวัดนครพนม กล่าวว่า สื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ยังคงเป็นสื่อที่มีอิทธิพลสามารถส่งผลกระทบด้านพฤติกรรม ความคิด และการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมทั้งทางบวกและทางลบ หากสื่อไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และหากผู้บริโภคสื่อไม่มีพลังพอที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง ให้สื่อทั้งระดับชุมชน ภูมิภาค และประเทศ ให้มีความเป็นสื่อมืออาชีพที่เสนอเนื้อหาด้วยความเป็นจริง มีคุณภาพ ปราศจากอคติ ไม่หลอกลวงผู้บริโภค หรือกำกับดูแลสื่อให้มีคุณภาพได้ ย่อมส่งผลเสียโดยตรงต่อผู้บริโภคสื่อ

 

 

 

 

 

การสร้างเครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการกำกับดูแลสื่อที่มีพลังมหาศาล ให้เกิดการมีส่วนร่วม ในแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคถูกละเมิดหรือถูกเอาเปรียบ อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของผู้บริโภคสื่อ สามารถปกป้องตนเองจากผลกระทบของสื่อ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมผ่านการสื่อสารที่สร้างสรรค์ นายชยพัทธ์ กล่าว

 

ด้าน อาจารย์สุภัทรชรี บุญประชุม หัวหน้าศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า การประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ แม้จะมีหน่วยงานกำกับดูแลหรือมีกฎหมายกำหนดไว้ แต่ปัจจุบันยังพบว่าการดำเนินงานของสื่อหรือผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ยังมีการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การโฆษณาสินค้า หรือบริการต่าง ๆ ที่หลอกลวงเกินจริง ไม่ครบถ้วน จนทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อและนำไปสู่การซื้อ-ใช้ สินค้า หรือบริการนั้น ๆ ขณะเดียวกันกลุ่มผู้บริโภคสื่อเองยังขาดความรู้และความเข้าใจในการทำงานของสื่อที่ถูกต้องเหมาะสมตามกรอบของจริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง ยังขาดความตื่นตัวในการปกป้องสิทธิของตนเอง จึงทำให้ถูกละเมิดสิทธิจากสื่อทั้งโดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว

 

 

 

 

 

 

การส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เป็นกลไกทางสังคมที่จะช่วยสร้างให้เกิดกระบวนการของการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง โดยเริ่มตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการติดตาม เฝ้าระวัง การสื่อสารความรู้ที่จะช่วยให้สังคมเกิดความตื่นตัว รับรู้ เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิตนเอง ในฐานะผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์

 

ศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดนครพนม จึงดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมความตระหนักรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สิทธิผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ สำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดนครพนม เพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ และความรู้ความเข้าใจเครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือการเฝ้าระวังและคุ้มครองผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ให้กับกลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึงการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคสื่อวิทยุและโทรทัศน์ด้วย อาจารย์สุภัทรชรี กล่าว

 

 

 

 

ส่วนภายในงานมีกิจกรรมการสันทนาการ จากเครือข่ายสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครพนม การบรรยายในหัวข้อ “รู้เท่าทันสื่อนั้น.... สำคัญไฉน?” จากศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดนครพนม กิจกรรม “เบิ่งแงง... นครพนม” แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5 ฐานกิจกรรม ประกอบด้วย การกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ การโฆษณาอาหาร การโฆษณายา การโฆษณาสมุนไพร และการโฆษณาเครื่องสำอาง พร้อมนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในสิทธิผู้บริโภคในสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการแสดงนิทานก้อม (การแสดงบทบาทสมมุติ) จากผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม

 

 

 

 

 

ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประกอบเกียรติ อิ่มศิริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐานะวัฒนา สุขวงศ์ ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญโครงการจาก กสทช. ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม มูลนิธิศรีโคตรบูรณ์ ชมรมคลังสมอง ชมรมมัคคุเทศก์ คณะกรรมการศูนย์เฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดนครพนม และผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

 

 

 

02 กุมภาพันธ์ 2567

ผู้ชม 118 ครั้ง

Engine by shopup.com