21 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ขับเคลื่อนงานเทียบระดับการศึกษา พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกัน

กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ขับเคลื่อนงานเทียบระดับการศึกษา พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกัน

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ มอบหมายให้ นายชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมชี้แจงการนำร่องการดำเนินงานเทียบระดับการศึกษาด้วยวิธีการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างวันที่ 25 - 27 กันยายน 2567 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี  

 

 

 

นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเรียนรู้ มีความพร้อมในการดำเนินงานตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลในเรื่องการพัฒนาระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น ทั้งในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุน ตอบโจทย์ศักยภาพผู้เรียน ลดภาระความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และสอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษาของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในด้านการลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง รวมถึงนโยบายการจัดการศึกษาที่เท่าเทียม พัฒนาคนไทยทุกคนในทุกช่วงวัย ให้ผู้เรียน “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” พัฒนา ส่งเสริม และสร้างความเสมอภาคเพื่อ “ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มคุณภาพการศึกษา” กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ได้ดำเนินการเทียบระดับการศึกษาด้วยวิธีการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเป้าหมายสำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องเรียนแต่ในห้องเรียนเท่านั้น โดยเชื่อว่า “ทุกคนสามารถมีวุฒิการศึกษาขั้นพื้นฐานได้”

นายชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกลุ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยอิงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดเดียวกันกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 เพื่อให้ได้คุณภาพเช่นเดียวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นที่ยอมรับและผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรดังกล่าว สามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพ มีศักดิ์และสิทธิ์ในการเรียนต่อ ทุกคนสามารถได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างรวดเร็ว เท่าเทียมกัน

นายชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล กล่าวเพิ่มเติมถึง แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ ว่า “การให้โอกาสคนต้องเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และประชาชนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเด็กยากจน เร่ร่อน กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ต้องขัง กลุ่มทหารเกณฑ์ กลุ่มพระภิกษุสงฆ์ กลุ่มที่อยู่บนพื้นที่สูง ฯลฯ          กรมส่งเสริมการเรียนรู้ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนทุกคน ได้มีคุณวุฒิการศึกษาได้มากขึ้น สามารถจำแนกกลุ่มเป้าหมายที่สามารถเข้าสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานได้ ดังนี้

1) ประชาชนทั่วไปที่ไม่มีวุฒิการศึกษา

2) ผู้พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับที่ต้องการวุฒิการศึกษาต่อ

3) ผู้พ้นวัยที่จะศึกษาในสถานศึกษาที่ต้องการมีวุฒิการศึกษา

4) ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่ต้องการมีวุฒิการศึกษา

5) ผู้ที่ไม่มีหน่วยงานอื่นใดเข้าไปดำเนินการพเพื่อให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

6) พนักงานทั่วไปที่ไม่มีวุฒิการศึกษา

7) นักเรียนจากการศึกษาในระบบที่ต้องการอิสรภาพต่อข้อจำกัดในห้องเรียน

8) ผู้เรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ ไม่ต้องเสียเวลาในระบบ ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่าย

9) ผู้ที่อยู่ในระบบ Home School ที่ต้องการรับรองวุฒิการศึกษาเทียบเท่าการศึกษาในระบบ

10) หรือทุกคนที่ต้องการมีวุฒิการศึกษา

 

 ทั้งนี้ ผู้ขอเข้าสอบเทียบระดับการศึกษา จะต้องมีคุณวุฒิในระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าระดับที่ประสงค์จะขอเทียบหนึ่งระดับ ยกเว้นขอสอบเทียบวัดระดับอยู่ในระดับประถมศึกษา

สำหรับการนำร่องการดำเนินงานเทียบระดับการศึกษาด้วยวิธีการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ 3 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา กลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ และกลุ่มเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ โดยแต่ละกลุ่มงาน มีหน้าที่ดำเนินการตามบทบาทภารกิจ ดังนี้

1) กลุ่มพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา จัดทำกรอบหลักสูตรการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ได้มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และเนื้อหารายวิชาในแต่ละระดับการศึกษา พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการดำเนินงาน และวิธีการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำประกาศกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเทียบระดับการศึกษาด้วยวิธีการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน และประกาศกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง กำหนดศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ/เขต ให้ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาด้วยวิธีการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน

2) กลุ่มพัฒนาระบบทดสอบร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จัดทำเครื่องมือการเทียบระดับการศึกษาด้วยวิธีการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน และคู่มือการจัดสอบเทียบการเทียบระดับการศึกษาด้วยวิธีการสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน

3) กลุ่มเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ จัดทำระบบการจัดสอบเทียบวัดระดับความการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคู่มือการใช้ระบบการจัดสอบเทียบวัดระดับความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน

29 กันยายน 2567

ผู้ชม 96 ครั้ง

Engine by shopup.com