26 เมษายน 2568

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความเทคโนโลยีช่วยทุเรียนไทย" – ก้าวใหม่ของเกษตรอัจฉริยะจากห้องแล็บราชมงคลสุวรรณภูมิ สู่สวนจันทบุรี

เทคโนโลยีช่วยทุเรียนไทย" – ก้าวใหม่ของเกษตรอัจฉริยะจากห้องแล็บราชมงคลสุวรรณภูมิ สู่สวนจันทบุรี

 

 

 

 

 

 

 

 

ในยุคที่เทคโนโลยีไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในเมืองใหญ่หรืออุตสาหกรรมขั้นสูง แต่ได้แทรกซึมเข้าสู่ภาคการเกษตรอย่างลึกซึ้ง การประเมินคุณภาพของผลไม้โดยเฉพาะ “ทุเรียน”  ราชาแห่งผลไม้ไทย  ก็กำลังได้รับการยกระดับด้วยเครื่องมือทันสมัยที่ช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

 

 

 




เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทีมวิจัยจากคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ นำโดย ดร.ศิโรรัตน์ เขียนแม้น หัวหน้าสาขาวิชาพืชศาสตร์ และ อาจารย์อรุณี คงสอน อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ ได้ลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ร่วมมือกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน “กลุ่มปรับปรุงคุณภาพไม้ผลบ้านชากไทย” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการประเมินคุณภาพทุเรียนล่วงหน้าก่อนเก็บเกี่ยว

 

 

 

 




ดร.ศิโรรัตน์ เขียนแม้น กล่าวว่า “การประเมินระดับความสุกของทุเรียนก่อนการเก็บเกี่ยว ยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่เกษตรกรและผู้ส่งออกต้องเผชิญ หากสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง ก็จะสามารถยกระดับมาตรฐานการผลิต การเก็บเกี่ยว รวมถึงการส่งออกทุเรียนให้มีคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ สาขาพืชศาสตร์จึงขอความอนุเคราะห์จากบริษัท ซีจี ไซแอนติฟิค จำกัด ในการนำเครื่อง FT-NIR (Fourier Transform Near Infrared Spectroscopy) แบบพกพา ลงพื้นที่เพื่อเก็บตัวอย่างทุเรียนในเขตจังหวัดจันทบุรี โดยจะเน้นเก็บข้อมูลผลทุเรียนในช่วงอายุผลระหว่าง 110 – 120 วัน ซึ่งเป็นช่วงใกล้สุกก่อนการตัดจริง

 

 




เครื่อง FT-NIR สามารถตรวจวัดค่าความหวาน ระดับความสุก และลักษณะของเนื้อผลได้อย่างรวดเร็วโดย ไม่ต้องผ่าผลทุเรียน ถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์ผลผลิตแบบไม่ทำลาย ช่วยลดความเสี่ยงในการตัดผลผลิตก่อนหรือหลังเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่อาจส่งผลต่อทั้งรสชาติและมูลค่าทางการตลาดของทุเรียนนอกจากนี้ ยังมีการใช้เครื่องวัดสี (Color meter) เพื่อเสริมความแม่นยำในการประเมินระดับความสุกของผลทุเรียนอีกด้วย

 

 

 

 




ทางด้าน อาจารย์อรุณี คงสอน ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “กลุ่มผู้ปลูกทุเรียนในวิสาหกิจชุมชนบ้านชากไทย จังหวัดจันทบุรี มีความตั้งใจจริงในการนำนวัตกรรมและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับการผลิตทุเรียนในพื้นที่ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืน

 

 

 


 



จากการทำงานของอาจารย์ทั้งสองท่าน สามารถสะท้อนถึงพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการสร้าง “นวัตกรรมที่ใช้ได้จริง” และส่งต่อองค์ความรู้ทางวิชาการสู่ชุมชนอย่างแท้จริง เพื่อยกระดับคุณภาพผลผลิตทุเรียนไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรไทยในเวทีโลก แม้จะเป็นเพียงก้าวเล็ก ๆ ของการเปลี่ยนผ่านสู่ “เกษตรอัจฉริยะ” แต่ก็เป็นก้าวที่มั่นคงและทรงพลัง ซึ่งเริ่มต้นจากชุมชนท้องถิ่น... ก้าวสู่อนาคตอย่างยั่งยืน

 

 

 

20 เมษายน 2568

ผู้ชม 39 ครั้ง

Engine by shopup.com