27 เมษายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความก.แรงงาน ร่วมมือ 10 แขวง พัฒนาคนในลุ่มน้ำโขง จ่อตั้งสถาบันฯ นานาชาตินครพนม

ก.แรงงาน ร่วมมือ 10 แขวง พัฒนาคนในลุ่มน้ำโขง จ่อตั้งสถาบันฯ นานาชาตินครพนม

หมวดหมู่: แรงงาน

 

 

 

 

 

วันที่ 20 เมษายน 2562 ที่โรงแรมฟอร์จูนริเวอร์วิว อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาทุนมนุษย์ในเขตพื้นที่ชายแดนและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ในกลุ่มประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS (The Greater Mekong Subregion)” ครั้งที่ 2 โดยหารือร่วมกับ 10 แขวงฝั่งลาว วางแผนร่วมพัฒนาบุคลากรกว่า 2,300 คนในปี 63 รองรับการจัดตั้งสถาบันฝีมือแรงงานนานาชาตินครพนม

 

 

 




พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยหลังจากเป็นประธานพิธีดังกล่าวว่า รัฐบาลไทยมีนโยบายในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศ และการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวมของภูมิภาคจะส่งผลต่อการเติบโตและการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศด้วย พร้อมกำหนดยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนารองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่มีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและนวัตกรรมในการผลิต จึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว โดยเฉพาะเขตพื้นที่ชายแดน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ กลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนพัฒนากำลังคนในเขตพื้นที่ดังกล่าว และเพื่อรองรับการจัดตั้งสถาบันฯ นานาชาติ ที่จังหวัดนครพนม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน จึงได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาทุนมนุษย์ในเขตพื้นที่ชายแดนและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ในกลุ่มประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS (The Greater Mekong Subregion)” ครั้งที่ 2 ขึ้น ระหว่างวันที่ 19- 20 เมษายน 2562 ผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 80 คน ประกอบด้วยผู้บริหารภาครัฐ จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในพื้นที่ 10 แขวง อาทิ แขวงไชยบุรี แขวงเวียงจันทร์ แขวงคำม่วน แขวงสะหวันเขต แขวงจำปาศักดิ์ เป็นต้น และบุคลากรจากกพร.ในพื้นที่ 14 จังหวัดชายแดนและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อร่วมกันจัดทำแผนการพัฒนากำลังคน ซึ่งมีเป้าหมายดำเนินการในปี 2563 รวมทั้งสิ้น 2,320 คน ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดนครพนม 320 คน รวมถึงรับฟังความคิดเห็นในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือของทั้ง 2 ประเทศที่จะพัฒนาบุคลากรได้ตรงตามความต้องการ อีกทั้งยังเป็นรากฐานในการสร้างความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจ การลงทุน และความมั่นคงของประเทศอีกด้วย

 

 

 

 



พล.ต.อ. อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า การจัดตั้งสถาบันฝีมือแรงงานนานาชาติ ที่จังหวัดนครพนมนั้น เนื่องจากเป็น 1 ใน 10 จังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่มีชายแดนติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เชื่อมต่อกับประเทศเวียดนามและออกสู่จีน โดยมีสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน) ข้ามแม่น้ำโขงสู่ถนน R 8 หรือ R 12 ย่นระยะทางการขนส่งเชื่อมต่อไปยังอนุภูมิภาคอินโดจีน โดยในปี 2558 มีมูลค่าการค้าชายแดนสูงที่สุดตั้งแต่เปิดใช้สะพานมิตรภาพ 3 จำนวน 106,326.75 ล้านบาท การจัดตั้งสถาบันฯ จะมีส่วนในการสนับสนุนมูลค่าการค้า การลงทุน การขนส่ง ภายในจังหวัดและกลุ่มประเทศในอนุภาคลุ่มน้ำโขง ส่งเสริมบทบาทหน้าที่ภายใต้กรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้านนายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า กพร. มีความพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อพัฒนาทักษะแรงงานในอนุภูมิภาคให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง โดยจัดแสดงศักยภาพและความพร้อมในการร่วมกันพัฒนาบุคลากรของประเทศสมาชิก GMS ทั้งด้านโลจิสติกส์ การท่องเที่ยวและบริการ และเทคโนโลยีด้านเกษตรแปรรูป ซึ่งเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่จะมีการพัฒนาบุคลากรร่วมกันในอนาคต.

และผลสรุปจากการสัมมนา พบว่า สปป.ลาวมีความต้องการ ด้านแรงงานใน 4 กลุ่มสาขาอาชีพได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ด้านคอมพิวเตอร์สารสนเทศ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้านช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์ ก่อสร้างรและงานช่างเชื่อม กลุ่มที่ 2 เป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ อาทิ มัคคุเทศก์ ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด พนักงานด้านธุรกิจโรงแรม กลุ่มที่ 3 ด้านขนส่งและโลจิสติกส์ ละกลุ่มที่ 4 ด้านอุตสาหกรรมการเกษตร โดยมีความต้องการพัฒนาทักษะฝีมือให้กับแรงงานในปี 63 จำนวน 1,244 คนและแผนระยะ 3 ปี(2563-2565) มีความต้องการพัฒนาบุคลากร 3,454 คน

20 เมษายน 2562

ผู้ชม 553 ครั้ง

Engine by shopup.com